วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ISDN



ISDN คืออะไร ?
ISDN (INTEGRATED SERVICES DIGITAL NETWORK) หรือบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล เป็นบริการที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถรับส่งสัญญาณเสียง ข้อมูลและภาพได้ด้วยระบบดิจิตอลสมบูรณ์แบบ และมีความเร็วสูงกว่าการสื่อสารในระบบธรรมดาทั่วไป ทำให้คุณภาพของเสียง ข้อมูลและภาพที่ส่งผ่านระบบ ISDN มีความชัดเจน ถูกต้อง รวดเร็ว เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ดังนั้นบริการ ISDN จึงเหมาะสำหรับผู้ใช้บริการสื่อสารโทรคมนาคมที่ต้องการความสะดวก รวดเร็ว ทันสมัยและคล่องตัวในการรับส่งข้อมูลข่าวสารทุกรูปแบบที่จำเป็นในการตัดสินใจได้อย่างครบถ้วน รวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ในโลกธุรกิจ


คุณสมบัติพิเศษของ ISDN
1.ผู้ใช้บริการ ISDN สามารถติดต่อสื่อสารได้หลายรูปแบบ โดยผ่านคู่สาย ISDN เพียงคู่สายเดียว เช่น
-สัญญาณเสียง
-สัญญาณเสียงพูด
-โทรสาร
-การรับส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างคอมพิวเตอร์, เมนเฟรมกับเทอร์มินัล, ระบบแลน, เทเล็กซ์, เทเลเท็กซ์และวีดีโอเท็กซ์
-ภาพนิ่ง
-ภาพเคลื่อนไหว
-การส่งสัญญาณเสียงพูดไปพร้อมกับภาพเคลื่อนไหว เช่น VIDEO PHONE (โทรศัพท์ ภาพ) ซึ่งสามารถใช้โทรศัพท์ติดต่อถึงกันได้โดยในขณะเดียวกันก็แสดงภาพเคลื่อนไหวของคู่สนทนาให้ปรากฏบนจอภาพของโทรศัพท์ภาพด้วย หรือ VIDEO CONFERENCE (อุปกรณ์สื่อสารที่ใช้ในการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ)
-การรับส่งข้อมูลไปพร้อมกับสัญญาณเสียงพูด เช่น MULTIFUNCTION TERMINAL เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อพ่วงด้วยโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งผ่านข้อมูลไปยังผู้รับปลายทางด้วยความเร็วสูง พร้อมๆกับการพูดโต้ตอบทางโทรศัพท์กับผู้รับปลายทางได้ในขณะเดียวกัน
-การส่งสัญญาณเสียงพูดไปพร้อมกับภาพเคลื่อนไหวและส่งข้อมูลไปยังผู้รับปลายทางได้ในขณะเดียวกัน เช่น DESKTOP VIDEO CONFERENCE เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อพ่วงด้วยโทรศัพท์ ซึ่งสามารถพูดโต้ตอบทางโทรศัพท์ โดยมีการแสดงภาพเคลื่อนไหวของคู่สนทนาบนจอคอมพิวเตอร์ พร้อมทั้งยังสามารถทำการส่งผ่านข้อมูลด้วยความเร็วสูงไปยังผู้รับปลายทางได้อีกด้วย
2.คู่สาย ISDN เพียง 1 คู่สาย สามารถรองรับการตดตั้งอุปกรณ์ปลายทางได้จำนวนมาก (สูงสุดถึง 8 เครื่อง) โดยการติดตั้งปลั๊ก ISDN (ปลั๊กเอนกประสงค์สำหรับติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารเพื่อใช้งานทุกชนิด) ตามจำนวนอุปกรณ์สื่อสารที่ต้องการใช้งาน ซึ่งผู้ใช้บริการ ISDNนอกจากจะติดตั้งอุปกรณ์ปลายทางบางส่วนสำหรับใช้งานปัจจุบันแล้ว อาจจะเผื่อสำรองการใช้งานที่เพิ่มขึ้นในอนาคตก็ได้


3.คู่สายระบบ ISDN มีจำนวนช่องสัญญาณมากกว่าคู่สายโทรศัพท์ในระบบธรรมดา ทำให้สามารถใช้งานอุปกรณ์สื่อสารพร้อมกัน 2 เครื่องในเวลาเดียวกัน โดยในขณะที่ผู้ใช้บริการ ISDN กำลังติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้บริการอื่นอยู่นั้น ผู้ใช้บริการก็ยังสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้บริการรายอื่นอีกรายหนึ่งได้อีกโดยใช้ช่องสัญญาณใช้งานที่เหลืออยู่ หรือผู้ใช้บริการรายอื่นๆเรียกติดต่อมายังผู้ใช้บริการ ISDN ได้โดยผ่านคู่สาย ISDN เส้นเดียวกันนี้ เพิ่มความสะดวกรวดเร็วและคล่องตัวแก่ธุรกิจ และผู้ใช้บริการ ISDN ไม่สูญเสียโอกาสในทางธุรกิจ

4.รับส่งข้อมูลข่าวสารโดยใช้สัญญาณระบบดิจิตอลซึ่งคุณภาพของสัญญาณจะแน่นอนชัดเจนและถูกต้องกว่าการส่งสัญญาณอนาล็อกและไม่ต้องมีการแปลงสัญญาณแต่อย่างใด ความคลาดเคลื่อนและสิ่งรบกวนจึงน้อยมาก นอกจากนี้ระบบ ISDN ยังสามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงถึง 64 Kbps(กิโลบิตต่อวินาที) ต่อ 1 ช่องสัญญาณซึ่งสูงกว่าระบบปกติที่ใช้อยู่ในปัจจุบันทำให้ประหยัดเวลาในการใช้รับส่งข่าวสารซึ่งเป็นเวลาที่มีค่าของธุรกิจ เนื่องจาก ISDN สามารถรับส่งข่าวสารได้เป็นปริมาณมากๆ ภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว และทั้งยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการสื่อสารให้กับธุรกิจอีกด้วย

5.ผู้ใช้บริการ ISDN สามารถติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้บริการรายอื่นที่อยู่โครงข่ายโทรศัพท์ (PUB LIC SWITCHING TELEPHONE NETWORK) ในปัจจุบันได้ทันที นอกจากนี้โครงข่ายบริการ ISDN ยังสามารถเชื่อมต่อกับโครงข่ายส่วนบุคคลอื่นๆ (เช่น LAN, PABX ฯลฯ) ได้อีกด้วย ทำให้ผู้ใช้บริการ ISDN สามารถติดต่อกับผู้ใช้บริการรายอื่นได้ทั่วประเทศ

อุปกรณ์เครื่องปลายทางที่ใช้ในระบบ ISDN
ผู้ใช้บริการ ISDN สามารถเลือกติดตั้งอุปกรณ์เครื่องปลายทางได้ดังนี้ คือ
1.อุปกรณ์เครื่องปลายทางที่เป็นระบบ ISDN เป็นอุปกรณ์ที่สามารถต่อเข้ากับปลั๊ก ISDN แล้วสามารถใช้งานได้ทันที ได้แก่
-โทรศัพท์ระบบ ISDN (DIGITAL TELEPHONE)
-โทรสารระบบดิจิตอล (GROUP 4)
-เครื่องคอมพิวเตอร์หรือดาต้าเทอร์มินัลที่ติดตั้งการ์ด ISDN หรือ DIGITAL MODEM
-โทรศัพท์ภาพ (VIDEO PHONE)
-บริการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (TELE-CONFERENCE)
-ตู้สาขาอัตโนมัติระบบ ISDN (ISDN PABX)
2.อุปกรณ์ที่ใช้กันอยู่ในระบบเดิมจะต้องต่อผ่านอุปกรณ์แปลงสัญญาณที่เรียกว่า TERMINAL ADAPTER (TA) ก่อนที่จะใช้งานในคู่สายระบบ ISDN ได้แก่


-โทรศัพท์ทั่วไป
-โทรสารทั่วไป (GROUP 3)
-เครื่องคอมพิวเตอร์หรือดาต้าเทอร์มินัลต่อเข้ากับ TA แทนการใช้ MODEM สื่อสารข้อมูลในปัจจุบัน
-เทเล็กซ์
-เทเลเท็กซ์
-วีดีโอเท็กซ์



บริการของ ISDN
บริการหลักมี 2 รูปแบบ คือ
1.แบบ BAI (BASIC ACCESS INTERFACE) เป็นรูปแบบการให้บริการเดินสายตรงถึงสำนักงานผู้ใช้บริการด้วยคู่สายเคเบิลทองแดงธรรมดา โดยคู่สายระบบ ISDN เพียง 1 คู่สายนี้ ผู้ใช้บริการ ISDN สามารถนำอุปกรณ์เครื่องปลายทางชนิดต่างๆมาติดตั้งใช้งานได้ถึง 8 เครื่อง และสามารถใช้งานอุปกรณ์สื่อสารได้พร้อมกัน 2 เครื่อง เพราะจะมีช่องสัญญาณสื่อสารอยู่ 2 ช่องสัญญาณ โดยแต่ละช่องสัญญาณสามารถติดต่อสื่อสารด้วยความเร็วสูงถึง 64 Kbps(กิโลบิตต่อวินาที) ทำให้เกิดความรวดเร็ว คล่องตัว และเพิ่มความสะดวกในการใช้งาน บริการชนิดนี้เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดกลาง
2.แบบ PRI (PRIMARY RATE INTERFACE) เป็นรูปแบบการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ ISDN ด้วยการวางเคเบิลใยแก้วนำแสง(FIBRE OPTIC) ไปยังตู้สาขาอัตโนมัติ(ISDN PABX) ของผู้ใช้บริการ โดยมีช่องสัญญาณสื่อสารอยู่ถึง 30 ช่องสัญญาณ ด้วยความเร็วของช่องสัญญาณจะถูกมัลติเพล็กซ์เข้าด้วยกันแล้วส่งไปในสายส่งสัญญาณชนิด PRI ด้วยความเร็วสูงสุด 2.048 Mbps(เม็กกะบิตต่อวินาที) บริการชนิดนี้เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความต้องการรับส่งข้อมูลข่าวสารเป็นปริมาณมากด้วยความเร็วสูง

บริการเสริม (SUPPLEMENTARY SERVICE)
-บริการแสดง/ระงับแสดงหมายเลขที่เรียกเข้า (บนจอของเครื่องโทรศัพท์ ISDN)
-บริการเรียกเข้าตู้สาขาอัตโนมัติระบบ ISDN โดยตรง
-บริการให้หมายเลขประจำเครื่องมากกว่า 1 เลขหมาย
-บริการขอขยายเลขหมายเพิ่ม
-บริการส่งข้อความระหว่างผู้ใช้ (ไปบันทึกบนเครื่องปลายทางในกรณีที่ไม่มีผู้รับที่เครื่องปลายทาง)


-บริการถอด-ย้ายอุปกรณ์เครื่องปลายทาง (ในขณะที่มีการติดต่อกันอยู่ ทำให้สัญญาณไม่ถูกตัดขาด สามารถติดต่อกันได้)


พื้นที่ให้บริการ ISDN
องค์การโทรศัพท์ฯ ได้กำหนดเปิดให้บริการ ISDN ในพื้นที่ครอบคลุมย่านธุรกิจที่สำคัญในกรุงเทพฯและจังหวัดใหญ่ๆที่เป็นย่านธุรกิจ ดังนี้
นครหลวง : สุรวงศ์ พหลโยธิน เพลินจิต พระโขนง ปทุมวัน ลาดพร้าว 1 ดอนเมือง แจ้งวัฒนะ นวนคร พระประแดง บางซื่อ (อโศกดินแดง สำราญราษฎร์ กรุงเกษม สุขุมวิท คลองเตย บางนา ชัยพฤกษ์ สาธุประดิษฐ์ ทุ่งมหาเมฆ เอกชัย หัวหมาก ดาวคะนอง สมุทรปราการ ปทุมธานี : พื้นที่เตรียมการติดตั้งชุมสาย ISDN เพื่อให้บริการในปี 2539)
ภูมิภาค : เชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ นครราชสีมา สระบุรี ขอนแก่น พัทยา แหลมฉบัง มาบตาพุด สุราษฎร์ธานี หาดใหญ่ ภูเก็ต (สมุทรสาคร เชียงราย : พื้นที่เตรียมการติดตั้งชุมสาย ISDN เพื่อให้บริการในปี 2539)
ประเทศที่ให้บริการ ISDN ระหว่างประเทศ : สหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ สวิสเซอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น (เดนมาร์ก เยอรมัน อิตาลี ฝรั่งเศส สวีเดน เบลเยี่ยม นอร์เวย์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ออสเตรเลีย ไต้หวัน และอินโดนีเซีย : มีแผนจะเปิดให้บริการติดต่อกับประเทศเหล่านี้ผ่านระบบ ISDN ได้ในปี 2539)

วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บทความที่ 3 การสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารจะประกอบด้วย
1.ผู้ส่ง (Sender)
2.ตัวกลาง (Media)
3.ข้อมูล (Message)
4.ผู้รับปลายทาง (Receiver)

5.โปรโตคอล (Network Protocol)
โปรโตคอล(Protocol)
-กฏเกณฑ์ที่ใช้เป็นทางการที่ใช้ในการสื่อสาร
-วิธีการส่ง ( Transmission )
-การอินเตอร์เฟส (Interface)
-การเข้ารหัส ( Coding )
-วิธีการตรวจสอบในกรณีที่ข้อมูลที่รับและส่งมีปัญหาให้เป็นรูปแบบเดียวกัน
-สามารถแปลงให้เป็นรูปแบบเดียวกันได้
-เพื่อความเป็นระเบียบและความสะดวกแก่ผู้ผลิตและผู้ใช้
-สามารถติดต่อสื่อสารข้อมูลกันเป็น แบบระบบเปิด (Open System )ตัวอย่างโปรโตคอล เช่น TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) โปรโตคอล X25 โปรโตคอล BSC ฯลฯ

ชนิดของสัญญาณการสื่อสารข้อมูลอิเล็คทรอนิกส์
1.การส่งสัญญาณแบบอนาล็อก (Analog)
2.การส่งสัญญาณแบบดิจิตอล (Digital)

ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล
-แบบทิศทางเดียว (Simplex หรือ One-Way)
ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางหนึ่ง โดยไม่สามารถส่งย้อนกับมาได้ เช่น ระบบวิทยุหรือโทรทัศน์

-แบบกึ่งสองทิศทาง (Half Duplex)
ข้อมูลสามารถส่งสลับกันได้ทั้ง 2 ทิศทางโดยต้องผลัดกันส่ง ครั้งละทิศทางเท่านั้น ตัวอย่างเช่น วิทยุสื่อสาร แบบผลัดกันพูด
-แบบสองทิศทาง (Full Duplex หรือ Both-Way)
ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทางอย่างอิสระ ตัวอย่างเช่น ระบบโทรศัพท์ บางครั้งเราเรียกการสื่อสารแบบสองทิศทางว่า Four-Wire-Line

สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
1.สื่อกลางที่เป็นสายสัญญาณ (Wire)
•สายเกลียวคู่ (Twisted pair Cable)
•สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)
•เส้นใยแก้วนำแสง หรือ ไฟเบอร์ออฟติกส์ (Fiber Optic Cable)
2.สื่อกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ (Wireless)
•ระบบไมโครเวฟ (Microware System)
•การสื่อสารด้วยดาวเทียม (Satellite Transmission)
•ระบบที่ใช้คลื่นวิทยุเป็นพาหะ (Radio Carrier)
•ระบบที่ใช้คลื่นแสงเป็นพาหะ (Light Carrier)

สายเกลียวคู่ (Twisted pair Cable)
-ประกอบด้วยสายลวดทองแดง 2 เส้น
-มีฉนวนหุ้มพันกันเป็นเกลียว
-สามารถลดการรบกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้ แต่ไม่สามารถป้องกันการสูญเสียพลังงานจากการแผ่รังสีความร้อน
-ราคาถูก
-ตัวอย่าง เช่นสายโทรศัพท์ สาย UTP ,สาย STP และสายที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายแบบ LAN

สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)

-สายเคเบิลแบบโคแอกเชียลหรือ "สายโคแอก"
-เป็นสายสื่อสารที่มีคุณภาพดีกว่าและราคาแพงกว่า สายเกลียวคู่
-สายส่งข้อมูลจะอยู่ตรงกลางเป็นลวดทองแดงมีชั้นของตัวเหนี่ยวนำหุ้มอยู่ 2 ชั้น
-ชั้นในเป็นฟั่นเกลียวหรือชั้นแข็ง
-ชั้นนอกเป็นฟั่นเกลียว
-คั่นระหว่างชั้นด้วยฉนวนหนา เปลือกชั้นนอกสุดเป็นฉนวน
-ตัวอย่าง เช่น สายเคเบิลทีวี สายโทรศัพท์ทางไกล (อนาล็อก) สายส่งข้อมูลในระบบเครือข่ายท้องถิ่น หรือ LAN (ดิจิตอล) หรือใช้ในการเชื่อมโยงสั้น ๆ ระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

เส้นใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable)
ลักษณะทั่วไปของ Fiber Optic
-ทำจากแก้วหรือพลาสติก
-สายไฟเบอร์ออปติกเปลี่ยนสัญญาณ (ข้อมูล) ไฟฟ้าให้เป็นคลื่นแสงก่อน
-ลำแสงที่ส่งออกไปเป็นพัลส์นั้นจะสะท้อนกลับไปมาที่ผิวของสายชั้นในจนถึงปลายทาง
-มีแบนด์วิดท์ (BW) ได้กว้างถึง 3 จิกะเฮิรตซ์ (1 จิกะ = 109)
-มีอัตราเร็วในการส่งข้อมูลได้ถึง 1 จิกะบิตต่อวินาที ภายในระยะทาง 100 กม.
-มีช่องทางสื่อสารได้มากถึง 20,000-60,000 ช่องทาง

ลักษณะการส่งข้อมูลของ Fiber Optic
-ส่งสัญญาณข้อมูล
-มอดูเลตสัญญาณ
-ไดโอด เปลี่ยนสัญญาณมอดูเลตให้เป็นลำแสง
-ลำแสงถูกส่งออกไปตามสายไฟเบอร์
-โฟโต้ไดโอด (Photo Diode) รับลำแสงเพื่อเปลี่ยนสัญญาณแสงให้กลับไปเป็นสัญญาณมอดูเลต
-ดีมอดูเลต ให้เหลือแต่สัญญาณข้อมูลที่ต้องการ

การสื่อสารด้วยดาวเทียม(Satellite Transmission)
-ดาวเทียมทำหน้าที่ขยายและทบทวนสัญญาณข้อมูล รับและส่งสัญญาณข้อมูลกับสถานีดาวเทียมที่อยู่บนพื้นโลก
-สถานีดาวเทียมภาคพื้นจะทำการส่งสัญญาณข้อมูล ไปยังดาวเทียม (Up-link)
-ดาวเทียมจะทำการทบทวนสัญญาณ และตรวจสอบตำแหน่งของสถานีปลายทาง (Down-link)
-ดาวเทียมส่งสัญญาณข้อมูลไปด้วยความถี่ในอีกความถี่หนึ่งลงไปยังสถานีปลายทาง
-ลักษณะของการรับส่งสัญญาณข้อมูลอาจจะเป็นแบบจุดต่อจุด (Point-to-Point) หรือแบบแพร่สัญญาณ (Broadcast)
ระบบที่ใช้คลื่นวิทยุเป็นพาหะ (Radio Carrier)
-คลื่นวิทยุเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
-มีการแพร่กระจายพลังงานคลื่นจากสายอากาศด้านผู้ส่ง
-เมื่อคลื่นเดินทางมาถึงสายอากาศด้านผู้รับ จะเกิดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าจำนวนน้อยๆ ค่าหนึ่ง ซึ่งถ้าหากมีการขยายและแปลงสัญญาณที่มีการส่งมาก็จะได้สัญญาณเดิมกลับมา
-ข้อมูลเสียงนั้นสามารถพูดรวมไปกับสัญญาณคลื่นวิทยุที่เป็นสื่อ
ส่วนประกอบทั่วๆไปของระบบที่ใช้คลื่นวิทยุ
-เครื่องส่งสัญญาณคลื่นวิทยุ (Radio Transmitters)
-เครื่องรับสัญญาณ (Communication Receiver)
-สายส่งและสายอากาศ (Transmission and Antenna)

-ใช้แสงอินฟราเรดเป็นตัวกลางในการสื่อสาร

-ข้อดี คือ สามารถที่จะเคลื่อนที่ได้ง่าย ติดตั้งง่าย ไม่ต้องมีการขอใช้ความถี่และขออนุญาต
-ข้อเสีย คือ ไม่สามารถสื่อสารไปในระยะทางไกลๆ ได้ มีช่วงสัญญาณที่แคบ และถ้าเกิดฝนตกจะทำให้การส่งสัญญาณอ่อนลงด้วย
-เป็นระบบที่ใช้เทคโนโลยีเช่นเดียวกับ Remote Control ของเครื่องโทรทัศน์
-มีข้อจำกัดที่ต้องใช้งานเป็นเส้นตรง ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง หรือระบบสเปกตรัมแถบกว้าง (Spread Spectrum)
-ตัวอย่างเช่น Wireless LAN ระบบที่ใช้คลื่นแสงเป็นพาหะ (Light Carrier)

เครือข่ายคอมพิวเตอร์(Computer Network)
หมายถึง กลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกัน เพื่อให้ผู้ใช้ในระบบเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลและใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบเครือข่ายได้
ประโยชน์ของระบบเครือข่าย
-สามารถใช้อุปกรณ์ร่วมกัน (Peripheral sharing)
-การใช้ซอฟต์ประเภทของระบบเครือข่าย แวร์ร่วมกัน (Software sharing)
ประเภทของระบบเครือข่าย
-ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระยะใกล้
(Local Area Network: LAN)
-ระบบเครือข่ายเน็ตเวิร์กระยะกลาง
(Metropolitan Area Network: MAN)
-ระบบเครือข่ายระยะไกล
(Wide Area Network: WAN)
ฮาร์ดแวร์ของระบบเครือข่าย
-คอมพิวเตอร์
-สายเคเบิล
-ฮับ (Hub)
-รีพีตเตอร์ (Repeater)
-การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (LAN Card)
-บริดจ์ (Bridge)
-สวิตซ์ (Switch)
-เกทเวย์ (Gateway)
เครื่องคอมพิวเตอร์(Computer)
-ในระบบเครือข่ายมีคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบพื้นฐาน
-คอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมกัน สามารถที่จะนำคอมพิวเตอร์ต่างรุ่นกันมาเชื่อมต่อกันได้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องพีซี แมคอินทอช
-ทรัพยากรอื่น ๆ ในเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ แฟกซ์หรืออุปกรณ์เก็บข้อมูล
สายเคเบิล(Cable)
-สายเคเบิลที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายแบบด้วยกัน แต่ละแบบก็มีความเร็วในการรับส่ง ข้อมูล และราคาแตกต่างกันไป
-การเลือกใช้สายเคเบิลอย่างไร ขึ้นอยู่กับขนาดและประเภทของเครือข่ายที่ใช้
ฮับ (HUB)

-ฮับ (HUB) อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อสายเคเบิลในเครือข่าย
-มีลักษณะเป็นช่องเสียบสายเคเบิลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ Server กับเครื่องพีซีอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องไคลเอนต์
รีพีตเตอร์ (Repeater)
-เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนตัวกลางนำสัญญาณจากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง เช่น จากไฟเบอร์ออปติกมายังโคแอกเชียล หรือการเชื่อมระหว่างตัวกลางเดียวกันก็ได้
-การใช้รีพีตเตอร์จะทำให้เครือข่ายทั้งสอง เสมือนเชื่อมกัน โดยที่สัญญาณจะวิ่งทะลุถึงกันได้หมด
-รีพีตเตอร์จึงไม่มีการกันข้อมูล แต่จะมีประโยชน์ในการเชื่อมต่อความยาวให้เพิ่มขึ้น
การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (LAN Card)
-อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมระหว่างคอมพิวเตอร์กับสายเคเบิล
-โดยเสียบลงบนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์
-ส่วนพอร์ตในการเชื่อมต่อกับสายเคเบิลจะอยู่ทางด้านหลังของเครื่องคอมพิวเตอร์
บริดจ์ (Bridge)
-มักใช้ในการเชื่อมต่อวงแลน (LAN Segment) 2 วงเข้าด้วยกัน
-ทำให้สามารถขยายขอบเขตของ LAN ออกไปเรื่อย ๆ
-บริดจ์อาจเป็นได้ทั้งฮาร์ดแวร์เฉพาะ หรือ ซอฟต์แวร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่กำหนดให้เป็นบริดจ์ก็ได้
สวิตซ์ (Switch)
-สวิตซ์จะช่วยลดการจราจรระหว่างเครือข่ายที่ไม่จำเป็น
-เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย ที่ไม่กระจายสัญญาณการส่งข้อมูลเหมือน HUB
เกทเวย์ (Gateway)
-มีหน้าที่ในการเชื่อมต่อและแปลงข้อมูลระหว่าง เครือข่ายที่แตกต่างกันทั้งในส่วนของโปรโตคอล
-LAN และ ระบบ Mainframe
-SNA ของ IBM กับ DECNet ของ DEC
-โดยปกติเกทเวย์มักเป็น Software Package ที่ใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง (ซึ่งทำให้เครื่องนั้นมีสถานะเกทเวย์)
-มักใช้สำหรับเชื่อม Workstationเข้าสู่เครื่องที่เป็นเครื่องหลัก (Host) ทำให้เครื่องเป็น Workstation สามารถทำงานติดต่อกับเครื่องหลักได้ โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับข้อแตกต่างของระบบเลย
โมเด็ม (MODEM)
-Modulator
การแปลงสัญญาณจากแบบดิจิตอลไปเป็นแบบอะนาลอก
-Demodulator
การแปลงสัญญาณจากแบบอะนาลอกไปเป็นแบบดิจิตอล

วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บทความที่ 2




ระบบ 3G



3G คืออะไร ระบบ 3G คืออะไร / เทคโนโลยี 3G หมายถึง / ความเร็ว 3G หลายๆ คนคงได้ยินบ่อยขึ้นเรื่อยๆ กับคำว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สามหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า 3G และเป็นเรื่องที่น่าสนใจทั้งด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่และธุรกิจที่มีมูลค่ามหาศาล อีกทั้งการทำการตลาดที่ดุเดือดเพื่อแย่งชิงลูกค้า แต่หากมีคนถามเราว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สามหรือ 3G คืออะไร? เราเองมักจะตอบกลับไปง่ายๆ ว่าก็โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคต่อไปไงล่ะครับ หลายคนๆ ก็อ่านหนังสือพิมพ์มาอธิบายบ้าง จำในนิตยสารมาบ้าง แล้วผสมผสานเล่าอธิบายกันไปตามเนื้อความที่ตนรับมา บ้างก็ตรงกันบ้างก็ไม่ตรงกัน บ้างก็ยังสับสน แต่หากเราต้องการคำตอบจริงๆ ว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สามหรือ 3G นั้นแท้จริงแล้วคืออะไร มีใครนิยามเป็นทางการไว้หรือไม่และนิยามว่าอย่างไรกันนะ เผื่อเอาไว้ใช้อ้างอิง โดยเฉพาะคนที่ต้องการตัวหนังสือที่ชัดเจนมายืนยัน ผมเลยนำมาเล่าเป็นเรื่องราวเชิงวิชาการแบบภาษาชาวบ้านว่า



คำตอบก็คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม หรือ Third Generation of Mobile Telephone หรือ เรียกย่อว่า 3G นั้น ITU (International Telecommunication Union) หรือ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นองค์กรชำนัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ ทำหน้าที่ให้คำแนะนำและวางหลักเกณฑ์ในบริหารการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมให้กับประเทศสมาชิกต่างๆ ทั่วโลก ได้มีแนวทางในการวางหลักเกณฑ์การบริหารทรัพยากรโทรคมนาคมของแต่ละประเทศเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ITU ได้ให้มีการกำหนดมาตรฐานสิ่งที่เรียกว่า เครื่องโทรคมนาคมแบบเคลื่อนที่ ซึ่งรวมถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วย (อุปกรณ์โทรคมนาคมในยุคต่อไปอาจจะใช้รวมกันหลายชนิด ทั้งโทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือดาวเทียม เป็นต้น) เรียกรวมกันว่ามาตรฐาน IMT-2000 (International Mobile Telecommunications-2000) ซึ่ง ITU ได้กำหนดความหมายของมาตรฐานดังกล่าวในเชิง ย่านความถี่ (Spectrum Band) และมาตรฐานการเชื่อมต่อทางเทคนิค (Technical Standard) อธิบายรายละเอียดยาวไปเดี๋ยวจะจับประเด็นไม่ได้ผมสรุปเลยดีกว่าว่า เจ้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สามมันมีลักษณะทางเทคโนโลยีอย่างไร ทำอะไรได้บ้าง นิยาม (Definition) โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม หรือมาตรฐาน IMT-2000 นั้นนิยามสั้นๆ เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่า
• “ต้องมี แพลทฟอร์ม(Platform) สำหรับการหลอมรวมของบริการต่างๆ อาทิ กิจการประจำที่ (Fixed Service) กิจการเคลื่อนที่ (Mobile Service) บริการสื่อสารเสียง ข้อมูล อินเตอร์เน็ต และ พหุสื่อ (Multimedia) เป็นไปในทิศทางเดียวกัน” คือ สามารถถ่ายเท ส่งต่อข้อมูล ดิจิตอล ไปยังอุปกรณ์โทรคมนาคมประเภทต่างๆ ให้สามารถรับส่งข้อมูลได้

• “ความสามารถในการใช้โครงข่ายทั่วโลก (Global Roaming)” คือ ผู้บริโภคสามารถ ถืออุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้ได้ทั่วโลก โดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่อง • “บริการที่ไม่ขาดตอน (Seamless Delivery Service)” คือ การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยน เซลล์ไซต์ (Cell Site) เขาใช้คำว่า Seam less นั้นแปลว่า ไร้รอยตะเข็บนะครับ

• อัตราความเร็วในการส่งข้อมูล (Transmission Rate) ในมาตรฐาน IMT-2000 นั้นกำหนดไว้ว่าต้องมีอัตราความเร็ว > มากกว่า 144 กิโลบิต/วินาที ในทุกสภาวะ > ถึง 2 เมกกะบิต/วินาที ในสภาวะกึ่งเคลื่อนที่ > สูงถึง 384 กิโลบิต/วินาที ในสภาวะเคลื่อนที่ นั่นแหละครับคือนิยามที่ ITU ให้ความหมายไว้ อ้อยังมีอีกเรื่องก็คือ ITU ได้กำหนดมาตรฐานการเชื่อมต่อความถี่วิทยุ ไว้ 5 มาตรฐานด้วยกันครับ ที่จำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานนั้นก็เพราะว่า ปัจจุบันผู้พัฒนาเทคโนโลยีหลายๆ ค่ายต่างพัฒนาได้รวดเร็วและหลากหลายวิธีการ ดังนั้นหากไม่มีการกำหนดมาตรฐานผลเสียอาจจะไปตกที่ผู้บริโภคเนื่องจากไม่สามารถใช้สินค้า (โทรศัพท์) เชื่อมต่อกันได้ และปัญหาที่สำคัญคือการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย และอุปกรณ์เครือข่าย เข้าเรื่องดีกว่ามาตรฐานการเชื่อมต่อคลื่นความถี่ของ IMT-2000 มีดังนี้ครับ
มาตรฐานการเชื่อมต่อทางคลื่นวิทยุตามมาตรฐาน IMT-2000 ซึ่งระบุไว้ใน Recommendation ITU-R M.1457 ประกอบไปด้วยห้ามาตรฐานดังนี้ครับ

1. WCDMA

2. CDMA2000

3. TD-SCDMA

4. EDGE

5. DECT

ในโลกโทรคมนาคมยุคต่อไป หรือโดยเฉพาะระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคต่อไป ความหมายหรือนิยามการทำงาน หรือเทคโนโลยี เขาจะเน้นไปที่ความเร็วในการรับส่งข้อมูลครับ เช่น สามจี เหรอ หมายถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่สามารถรับส่งข้อมูลที่มีความเร็วได้ตั้งแต่ 144 kbps ถึง 2 Mbps ประมาณนั้นครับ หรือ เทคโนโลยี GPRS มีอัตราเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 144 kbps และเทคโนโลยี EDGE มีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลเท่ากับ 384 kbps เป็นต้นครับ มีผู้รู้หลายๆ ท่านในวงการโทรคมนาคมถกเถียงกันว่า EDGE ถือเป็น สามจีแล้วนะ หรือบ้างก็ว่า GPRS ก็ต้องเป็นสามจีด้วยสิ เพราะมีความเร็วเท่ากับนิยาม ITM-200 ของ ITU กำหนดไว้ และสำนักงาน กทช. เองก็ได้ให้นิยาม IMT-2000 ไว้เช่นเดียวกับที่ผมนำมาอธิบายให้ฟังข้างต้นแล้ว(นิยาม) ในเอกสานประกอบการทำประชาพิจารณ์แบบเฉพาะกลุ่ม (Focus Group) ที่ผ่านมา ผมเลยคิดเอาเองเป็นความเห็นส่วนตัวว่า บ้านเมืองเรานักกฎหมายเค้าดูตามตัวหนังสือเลยครับยืนยันชัดเจน ถ้าระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่สามารถทำงานได้ตาม “นิยาม” ข้างต้นทุกข้อแล้ว ไม่ถือว่าเป็น สามจี ครับ ซึ่งบางระบบอาจจะทำได้บางข้อเท่านั้น แต่ในความจริงแล้ว ในอดีตเราไม่เคยมีใครนิยามไว้เป็นทางการหรอกครับ ว่าอะไรคือโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 1 อะไรคือโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่2 หรืออะไรคือโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 2.5 ล้วนซึ่งอาจจะเกิดจากความเข้าใจตามบทความ โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคแรก นั้นเขาก็เปรียบให้เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ อนาลอก (Analog) ครับ อย่างเช่น (NMT) Nordic Mobile Telephone ในบ้านเราในอดีตก็มีย่าน 470 ย่าน 800 ย่าน 900 ประมาณนั้นครับ ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาระบบขึ้นที่เรียกกันว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สอง ซึ่งก็เปลี่ยนจากสัญญาณ อนาลอก มาเป็นสัญญาณ ดิจิตอล ครับ หรือระบบโทรศัพท์ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั่นเอง อาทิเช่น ระบบ GSM (Global System for Mobile Communications) เป็นต้นครับ ถ้าจำไม่ผิดระบบดิจิตอล เซลลูล่าร์ ที่เราใช้กันอยู่ปัจจุบันน่าจะมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลประมาณ 64 kbps พูดให้เข้าใจง่ายว่าเหมือนเราต่อ อินเตอร์เน็ต ผ่านสายโทรศัพท์บ้านธรรมดาเท่านั้นเอง และผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Operators) ได้ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมเสริมปริทธิภาพการทำงานของระบบให้รวดเร็วขึ้น จึงพัฒนาให้ระบบมีความเร็วขึ้นเป็นเทคโนโลยี GPRS และเทคโนโลยี EDGE ตามลำดับ อย่างที่ผมกล่าวถึงข้างต้นว่า ในการพัฒนาเทคโนโลยีของผู้ผลิตหลายๆ ค่าย ต่างคนต่างพัฒนา การใช้งานอาจจะส่งผลกระทบถึงผู้บริโภค เช่น เรียกข้ามเครือข่ายไม่ได้ ดังนั้นจึงพยายามบีบให้เหลือมาตรฐานทางเทคโนโลยีน้อยที่สุด ซึ่งก็ยังมีถึง 5 มาตรฐานตาม IMT-2000 ดังที่กล่าวมาแล้ว ทีนี้เรามาดูกันว่าจากระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน จะสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพเครือข่ายไปยัง สามจี อย่างไร ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า Evolution Paths
ซึ่งเข้าใจได้ง่ายจากภาพที่ ITU ให้ไว้เพื่อการศึกษา เช่นจากเครือข่าย GSM อย่างไรก็ต้องผ่านการปรับปรุงเครือข่ายให้มีเทคโนโลยี EDGE ก่อนจึงจะสามารถให้บริการ WCDMA ได้ในอนาคต ส่วนผู้ที่ให้บริการระบบ CDMA one ในปัจจุบันสามารถพัฒนาเครือข่ายไปเป็น CDMA20001X ได้เลย.

ที่มาจาก ระบบ 3G คืออะไร / เทคโนโลยี 3G หมายถึง / ความเร็ว 3G
เทคโนโลยี 3G พัฒนามาจากอะไร ระบบ 3G คืออะไร และมี ความเร็ว เท่าไร ระบบ 3G ( UMTS ) นันคือการนำเอาข้อดีของ ระบบ CDMA มาปรับใช้กับ GSM เรียกว่า W-CDMA ซึ่งถูกพัฒนาโดยบริษัท NTTDoCoMo ของญี่ปุ่น สำหรับเมืองไทยนั้น ระบบ 3G จะเป็น เทคโนโลยีแบบ HSPA ซึ่งแยกย่อยได้เป็น HSDPA , HSUPA และ HSPA+ HSDPAนั้นจะสามารถ รับส่งข้อมูลได้สูงสุดที่ Download 14.4 Mbps / Upload 384 Kbps. ( ปัจจุบันผู้ให้บริการทั่วโลกยังให้บริการอยู่ที่ Download 7.2Mbps เท่านั้น )HSUPAจะเหมือนกับ HSDPA ทุกอย่างแต่การ Upload ข้อมูลจะวิ่งที่ความเร็วสูงสุด 5.76 Mbps HSPA+ เป็นระบบในอนาคต การ Download ข้อมูลจะอยู่ที่ 42 Mbps / Upload 22 Mbps
สำหรับในเมืองไทยนั้น ระบบ 3G ( HSPA ) ที่ Operator AIS หรือ DTAC นำมาใช้จะเป็น HSDPA โดยการ Download จะอยู่ที่ 7.2Mbps ซึ่งน่าจะได้ใช้กันในไม่ช้า
ข้อควรระวังในการเลือกซื้อ AirCard แบบที่รองรับ 3G คลื่นความถี่ 3G ที่ใช้กันทั่วโลก จะใช้อยู่ 3 ความถี่ที่เป็นมาตราฐานคือ 850 , 1900 และ 2100 ซึ่งเมืองไทยจะแบ่งเป็นดังนี้
คลื่นความถี่ ( band ) 850 จะถูกพัฒนาโดย Dtac และ Trueคลื่นความถี่ ( band ) 2100 จะถูกพัฒนาโดย AISคลื่นความถี่ ( band ) 1900 ยังไม่แน่ชัดว่าจะถูกปล่อยออกโดยบริษัทไหน
ดังนั้นการเลือกซื้อ AirCard , Router หรือ โทรศัพท์มือถือ และต้องการให้รอบรับ 3G ควร check ให้ดีก่อนว่าสามารถรองรับได้ทั้ง 3 คลื่นหรือเพียงบางคลื่นเท่านั้นข้อมูลจาก
ข้อมูลจากhttp://www.aircardshop.com/http://www.manager.co.th/