วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ความหมายของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (electrinic device) ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆ โดยคุณสมบัติที่สำคัญของคอมพิวเตอร์คือการที่สามารถกำหนดชุดคำสั่งล่วงหน้าหรือโปรแกรมได้ (programmable) นั่นคือคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชุดคำสั่งที่เลือกมาใช้งาน ทำให้สามารถนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้ในการตรวจคลื่นความถี่ของหัวใจ การฝาก - ถอนเงินในธนาคาร การตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ เป็นต้น ข้อดีของคอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธภาพ มีความถูกต้อง และมีความรวดเร็ว อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเป็นงานชนิดใดก็ตาม เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีวงจรการทำงานพื้นฐาน 4 อย่าง (IPOS cycle) คือ
1. รับข้อมูล (Input) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการรับข้อมูลจากหน่วยรับข้อมูล (input unit) เช่น คีบอร์ด หรือ เมาส์
2. ประมวลผล (Processing) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลกับข้อมูล เพื่อแปลงให้อยู่ในรูปอื่นตามที่ต้องการ
3. แสดงผล (Output) เครื่องคอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์จากการประมวลผลออกมายังหน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit) เช่น เครื่องพิมพ์ หรือจอภาพ
4. เก็บข้อมูล (Storage) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการเก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลไว้ในหน่วยเก็บข้อมูล เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต

แสดงขั้นตอนการทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์

คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันนี้คนส่วนใหญ่นิยมนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ มากมาย ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่มักจะคิดว่าคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่สามารถทำงานได้สารพัด แต่ผู้ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์จะทราบว่า งานที่เหมาะกับการนำคอมพิวเตอร์มาใช้อย่างยิ่งคือการสร้าง สารสนเทศ ซึ่งสารสนเทศเหล่านั้นสามารถนำมาพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ ส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือจัดเก็บไว้ใช้ในอนาคนก็ได้ เนื่องจากคอมพิวเตอร์จะมีคุณสมบัติต่าง ๆ คือ
o ความเร็ว (speed) คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้สามารถทำงานได้ถึงร้อยล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที
o ความเชื่อถือ (reliable) คอมพิวเตอร์ทุกวันนี้จะทำงานได้ทั้งกลางวันและกลางคืนอย่างไม่มีข้อผิดพลาด และไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
o ความถูกต้องแม่นยำ (accurate) วงจรคอมพิวเตอร์นั้นจะให้ผลของการคำนวณที่ถูกต้องเสมอหากผลของการคำนวณผิดจากที่ควรจะเป็น มักเกิดจากความผิดพลาดของโปรแกรมหรือข้อมูลที่เข้าสู่โปรแกรม
o เก็บข้อมูลจำนวนมาก ๆ ได้ (store massive amounts of information) ไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน จะมีที่เก็บข้อมูลสำรองที่มีความสูงมากกว่าหนึ่งพันล้านตัวอักษร และสำหรับระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่จะสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งล้าน ๆ ตัวอักษร
o ย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกทีหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว (move information) โดยใช้การติดต่อสื่อสารผ่านระบบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถส่งพจนานุกรมหนึ่งเล่มในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ไกลคนซีกโลกได้ในเวลาเพียงไม่ถึงหนึ่งวินาที ทำให้มีการเรียกเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมกันทั่วโลกในปัจจุบันว่า ทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway)
ผู้ที่สนใจศึกษาทางด้านคอมพิวเตอร์ จะต้องศึกษาหลักการทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ รวมทั้งจะต้องศึกษาถึงผลกระทบจากคอมพิวเตอร์ต่อสังคมในวันนี้ ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ โดยในแง่บวกนั้นจะมองเห็นได้ง่ายจากสภาพแวดล้อมทั่วไป นั่นคือทำให้สามารถทำงานต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น เริ่มตั้งแต่การจัดเก็บเอกสาร การพิมพ์จดหมาย การจัดทำหนังสือพิมพ์และวารสารต่าง ๆ การฝาก - ถอนเงินในธนาคาร การจ่างเงินซื้อสินค้า ตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์ และในทางการแพทย์อื่น ๆ อีกมากมาย
ในแง่ลบก็มีไม่น้อย เช่น
o โรงงานผลิตอุปกรณ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นต้องใช้สารเคมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้เกิดมลพิษต่าง ๆ มากมาย
o ผู้ใช้อาจมีอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ เช่น อาจมีการปวดหลังไหล่ที่เกิดจากการนั่งอยู่หน้าเครื่องนาน ๆ หรืออาจเกิดอาการ Carpal Tunnel Syndrome (CTS) ซึ่งเป็นอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากเส้นประสาทบริเวณข้อมูลถูกกดทับเป็นเวลานาน ๆ โดยอาจเกิดจากการใช้คีย์บอร์ดหรือเมาส์ รวมทั้งอาจมีอันตรายจากรังสีออกมาจากจอคอมพิวเตอร์ด้วย
o ถ้าคอมพิวเตอร์ทำงานผิดพลาดในระบบที่มีความสำคัญมาก ๆ อาจเป็นอันตรายกับชีวิตมนุษย์ได้ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมการจราจรทางอากาศ เป็นต้น
ประเภทของคอมเครื่องคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ที่ใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน คือ ไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการใช้งานกันมาก ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน ตลอดจนในสถานศึกษาต่างๆ ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก แต่มีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงกว่าเครื่องขนาดใหญ่ในสมัยก่อนเสียอีก อย่างไรก็ดีแม้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการที่ทำไม่สามารถทำงานที่ใหญ่ และมีความซับซ้อนได้ เช่น งานของระบบธนาคารหรืออุตสาหกรรมซึ้งมีปริมาณมากและมีความซับซ้อนจะเป็นงานที่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ที่ทำงานได้ดีกว่าเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Sofeware) บุคลากร (Peopleware) ข้อมูลและสารสนเทศ (Data/Information) และกระบวนการทำงาน (Procedure)
วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์

คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ หมายถึง ส่วนของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ กระบวนการในการทำงานตลอดจนเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้องในระบบประมวลผลข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์

ส่วนประกอบของซอต์แวร์

ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
• ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) หมายถึง โปรแกรมทุกโปรแกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับส่วนประกอบต่าง ๆ ของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และอำนวยเครื่องมือสำหรับทำงานพื้นฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับฮาร์ดแวร์
• ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) จะเป็นโปรแกรมที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานต่าง ๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่างานด้านการจัดทำเอกสาร การทำบัญชี การจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนงานทุก ๆ ด้านตามแต่ผู้ใช้ต้องการ จนสามารถกล่าวได้ว่าซอฟต์แวร์ประยุกต์ก็คือซอฟต์แวร์ที่ทำให้เกิดการใช้งานคอมพิวเตอร์กันอย่างกว้างขวาง และทำให้คอมพิวเตอร์เป็นปัจจัยที่ไม่สามารถขาดได้ในยุคสารสนเทศนี้ในองค์กรขนาดใหญ่หรืองานที่มีความต้องการเฉพาะด้าน การจัดหาซอฟต์แวร์มาใช้งานจะใช้วิธีพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาเอง หรือว่าจ้างบริษัทซอฟต์แวร์เพื่อทำซอฟต์แวร์เฉพาะงานให้ซอฟต์แวร์ขึ้นมาใช้เอง ซอฟต์แวร์ประเภทนี้จะเรียกว่าซอฟต์แวร์เฉพาะงาน (Tailor Made software) มีข้อดีคือมีความเหมาะสมกับงานและสามารถแก้ไขตามความต้องการได้ ข้อเสียคือค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลาสำหรับการพัฒนา ปัจจุบันนี้จึงมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับงานทั่ว ๆ ไป วางจำหน่ายเป็นชุดสำเร็จรูปเรียกว่าซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Software Package)
ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Programming Language)
ภาษาเป็นตัวแทนการสื่อสารระหว่าง 2 สิ่งหรือหลาย ๆ สิ่ง เพื่อให้เกิดความหมายและความเข้าใจตรงกัน เช่น มนุษย์ใช้คำพูดสื่อสารกัน ก็ถือว่าคำพูดนั้นเป็นภาษา หรืออาจใช้มือในการสื่อสารระหว่างคนที่เป็นใบ้พูดไม่ได้ หรือแม้แต่ดนตรีก็ถือว่าเป็นภาษาชนิดหนึ่งที่เป็นสากลเพราะคนชาติใดมาฟังก็จะให้ความรู้สึกเดียวกัน ในทางคอมพิวเตอร์นั้น ก็ต้องทำการพัฒนาภาษาที่จะสื่อสารระหว่างมนุษย์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ด้วยเหตุที่เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ซึ่งมีเฉพาะวงจรการเปิดและปิด ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สื่อสารโดยใช้เลขฐานสองเท่านั้น เรียกภาษาที่ใช้เฉพาะเลขฐานสองในคอมพิวเตอร์ว่า ภาษาเครื่อง (Machine Language) การที่มนุษย์จะเรียนรู้ภาษาเครื่องนั้นยากมาก เพราะนาอกจากจะต้องศึกษาถึงอุปกรณ์นั้นอีกด้วย ซึ่งจะทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องยุ่งยาก จึงมีผู้คิดค้นภาษาคอมพิวเตอร์ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการติดต่อสื่อสารระหว่าวเครื่องคอมพิวเตอร์กับมนุษย์ โดยผู้ใช้จะสามารถติดต่อับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยผ่านทาง ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Programming Language) เมื่อประมาณ 25 ปีที่แล้วผู้ที่จะใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในงานประยุกต์บางอย่างนั้น จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมด้วย แต่ปัจจุบันตลาดการค้าซอฟต์แวร์ได้เปลี่ยนไปอย่างมาก เพราะมีการผลิต โปรแกรมสำเร็จรูป (Software Package) ออกมาขายมากมาย ผู้ใช้สามารถซื้อโปรแกรมที่ตรงกับความต้องการไปใช้ได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาในการเขียนโปรแกรมหรือชุดโปรแกรมเองอีก ซึ่งทำให้มีผู้หันมาใช้คอมพิวเตอร์กันมากขึ้นเพราะสามารถศึกษาได้ไม่ยากนัก
การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์และฐานข้อมูล
ข้อมูล (Data) หมายถึง ความจริง (fact) ซึ่งสามารถบันทึกไว้ได้ และมีความหมายอยู่ในตัวข้อมูลถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของระบบงานคอมพิวเตอร์ เนื่องจากการประมวลผลทางคอมพิวเตอร์ทุกประเภทจะเป็นการประมวลผลข้อมูลในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อให้ได้รับผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา หากข้อมูลที่ป้อนให้คอมพิวเตอร์ผิด ผลลัพธ์ที่ได้จากคอมพิวเตอร์ก็จะไม่มีคุณค่าอะไรเลย หรือที่เรียกว่า ป้อนขยะเข้าย่อมได้ขยะออกมา (garbage in - garbage out) การศึกษาเรื่องของข้อมูล ทั้งในเรื่องของวิธีแทนข้อมูลในคอมพิวเตอร์ วิธีจัดเก็บข้อมูลตลอดจนวิธีการจัดข้อมูลซึ่งมีปริมาณมาก ๆ และมีความสัมพันธ์กัน เป็นหัวข้อพื้นฐานที่ผู้ศึกษาในเรื่องคอมพิวเตอร์ต้องทราบ เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป
รหัสแทนข้อมูล ระบบคอมพิวเตอร์เป็นระบบที่ใช้สัญญาณทางไฟฟ้าในการทำงาน ทำให้มีสองสถานะคือเปิด (ON) และปิด (OFF) จึงต้องหาวิธีในการแทนที่สองสถานะนี้ นั่นคือการใช้เลขฐานสอง (Binary Number System) ซึ่งประกอบจากเลข 0 และ 1 แทนความหมายของข้อมูลต่าง ๆ หากพิจารณาเลขฐานสองเพียงหนึ่งหลัก จะเห็นว่าสามารถแทนข้อมูลได้เพียงสองชนิดเท่านั้นคือ 0 และ 1 ในขณะที่เลขฐานสองสองหลักจะสามารถแทนข้อมูลได้ 4 ชนิดคือ 00 , 01 , 10 และ 11 ดังนั้นหากต้องการใช้เลขฐานสองในการแทนข้อมูลจำนวนมาก เช่น นำมาแทนตัวอักษรต่าง ๆ ทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ก็จะต้องใช้เลขฐานสองจำนวนหลายหลัก
ระบบไฟล์ข้อมูล หน่วยเก็บข้อมูลสำรองของคอมพิวเตอร์จะเก็บข้อมูลในรูปของตัวเลขฐานสอง ซึ่งจะประกอบกันเป็นแฟ้มข้อมูลหรือ ไฟล์ (File) โดยที่ไม่ว่าจะใช้สื่อเก็บข้อมูลชนิดใดก็ตาม ทุกอย่างที่เก็บอยู่ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรองต้องอยู่ในรูปของไฟล์ ไฟล์ก็คือบริเวณใดบริเวณหนึ่งบนหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่ถูกกำหนดให้เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลต่าง ๆ นั่นเอง ไฟล์สามารถแบ่งออกเป็นหลายชนิด การอ้างถึงไฟล์ต่าง ๆ สามารถอ้างด้วยชื่อของไฟล์นั้น ไฟล์หลาย ๆ ไฟล์จะถูกจัดเก็บไว้รวมกันอยู่ในไดเรกทอรี่ (Directory) หรือ โฟลเดอร์ (folder) ซึ่งเปรียบเสมือนตู้เอกสารที่เก็บเอกสารหลาย ๆ แฟ้มไว้ด้วยกัน และในหน่วยเก็บข้อมูลหนึ่ง ๆ อาจมีหลาย ๆ ไดเรกทอรี่ใด ซึ่งนิยมพิจารณาจากข้อมูลที่เก็บอยู่ในไฟล์เหล่านั้น โดยหากข้อมูลในไฟล์มีความสัมพันธ์กันก็จะจัดให้อยู่ในไดเรกเทอรี่เดียวกัน หากข้อมูลต่างประเภทกันก็ควรพิจารณาจัดไว้ในไดเรกทอรี่อื่น
ระบบฐานข้อมูล จากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระบบจัดการข้อมูลแบบไฟล์ ทำให้เกิดแนวความคิดที่จะสร้างระบบการจัดการข้อมูลแบบใหม่ ซึ่งสามารถทำการจัดการ ดูแลรักษา ตรลดจนเรียกใช้ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อันจะทำให้งานการสร้างและใช้งานข้อมูลกระทำได้อย่างรวดเร็วและเสียค่าใช้จ่ายน้อยลง
ระบบจัดการฐานข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูล หรือที่นิยมเรียกว่า ดีบีเอ็มเอส (DBMS) คือชุดของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่สร้าง ดูแลรักษา และใช้งานส่วนต่าง ๆ ของฐานข้อมูล ดังรูป

ระบบฐานข้อมูล

ระบบการจัดการฐานในระยะแรกจะถูกพัฒนาเพื่อใช้บนเครื่องเมนเฟรม แต่ในปัจจุบันสาารถพบได้ในคอมพิวเตอร์ทุกขนาด โดยมีอัตราการเติบโตของการใช้งานประมาณ 30-35% ต่อปี โดยปกติแล้ว วิธีการเรียกใช้ ตลอดจนเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลมีวิธีต่าง ๆ ดังนี้
เชื่อมโยงกับภาษาการโปรแกรม (Programming Language Interfaces) นิยมใช้วิธีนี้ในการเขียนโปรแกรมที่ต้องมีการเรียกใช้หรือแก้ไขค่าของข้อมูลในฐานข้อมูล ตลอดจนการสร้างรายงานที่มีการคำนวณซับซ้อน อาจใช้ภาษาโคบอล (COBOL) ภาษาซี หรือภาษาในระดับสูงและสูงมากอื่น ๆ ในการเชื่อมต่อเข้ากับฐานข้อมูลก็ได้
ภาษาในการจัดการข้อมูล (Query language) เป็นภาษาที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะให้ใช้กับฐานข้อมูล นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน เพราะใช้ง่ายแลเรียกดูข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว จัดเป็นภาษาในยุคที่ 4 ไม่ต้องมีการแปลภาษา (compile) หรือ เชื่อมโยง (link) ก่อนใช้งาน ตัวรายงาน (Report Generator) ถูกออกแบบมาให้สร้างรายงานที่ซับซ้อนและมีขนาดใหญ่หรือยาวมากได้อย่างรวดเร็ว
โปรแกรมอรรถประโยชน์ของระบบ (System utilities) จะเป็นโปรแกรมที่ถูกใช้งานโดย ผู้จัดการระบบ (system manager) หรือที่นิยมเรียกว่า ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล (database administrator) โปรแกรมประเภทนี้นิยมใช้ในการ เก็บสำรอง (backup) ฐานข้อมูล เรียกข้อมูลจากฐานข้อมูล หรือจัดเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลรวมทั้งการ เรียกคืน (restore) ข้อมูลในกรณีที่ระบบมีปัญหา
ฐานข้อมูลแบบกระจาย ฐานข้อมูลและระบบจัดการฐานข้อมูลที่อยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดีวที่มีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองอยู่ เรียกว่าเป็น ระบบฐานข้อมูลศูนย์กลาง (Centralized database system) เพราะอุปกรณ์ต่าง ๆ ของระบบติดตั้งอยู่บนเครื่องเพียงเครื่องเดียว หรือเรียกว่าไซต์ (site) เดียวเท่านั้น ถึงแม้ว่าฐานข้อมูลดังกล่าวอาจจะถูกเรียกใช้ข้อมูลจากเทอร์มินับระยะไกลที่ติดต่อเข้ามายังเครื่องส่วนกลางนั้น แต่ข้อมูลและระบบจัดการฐานข้อมูลยังคงทำงานอยู่บนเครื่องเพียงเครื่องเดียว ในปัจจุบันมีการใช้ฐานข้อมูลจากหลาย ๆ เครื่องหรือหลายไซต์ โดยผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสาร เรียกว่า ฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Database System หรือ DDBSs) ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูลแบบนี้เรียกว่า ระบบจัดการฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Database Management System หรือ DDBMS) ฐานข้อมูลแบบกระจายเป็นที่รวมของข้อมูลซึ่งอยู่บนระบบเดียวกัน แต่ในทางกายภาพมีการจัดเก็บกระจายอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องหรือหลายไซต์ และมีการเชื่อมต่อกันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีสารสนเทศ
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข่าวสารที่ได้จากการนำ ข้อมูลดิบ (raw data) มาคำนวณทา
สถิติหรือประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งข่าวสารที่ได้ออกมานั้นจะอยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้งานทันทีในส่วนของ เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หมายถึงกระบวนการต่างๆ และระบบงานที่ช่วยให้ได้สารสนเทศที่ต้องการโดยจะรวมถึง
1. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์คมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟต์แวร์ทั้งระบบสำเร็จรูปและพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะด้าน

2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน รวบรวมข้อมูล จัดเก็บประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป

เทคโนโลยีของระบบสารสนเทศในปัจจุบัน ประกอบด้วย
 ระบบประมวลผลข้อมูล (Data Processing System)
 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System)
 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)
 ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System)
 ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems)
สารสนเทศกับการตัดสินใจ ในองค์การต่าง ๆ นั้น สามารถแบ่งการทำงานได้เป็น 4 ระดับด้วยกันคือ 1.ระดับวางแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว (strategic planning) 2.ระดับวางแผนการบริหาร (tactical planning) 3.ระดับวางแผนปฏิบัตการ (operation planning) และ 4.ระดับผู้ปฏิบัติการ (clerical) โดยใน 3 ระดับแรกนั้นจะจัดอยู่ใน ระดับบริหาร (Management) และระดับสุดท้ายจัดอยู่ใน ระดับปฏฺบัติการ (Operation) ระบบสารสนเทศจะทำการเก็บรวมรวบข้อมูลจากระดับปฏิบัติการ และทำการประมวลผลเพื่อให้สารสนเทศกับบุคลากรในระดับต่าง ๆ ซึ่งในแต่ละระดับนั้นจะใช้ลักษณะและปริมาณของสารสนเทศที่แตกต่างไป ระบบสารสนเทศในองค์สามารถแทนได้ด้วยภาพปิรามิด ตามรูป

แสดงโมเดลโครงสร้างองค์กร

จากภาพจะเห็นได้ว่าโครงสร้างระบบสารสนเทศแบบปิรามิด มีฐานที่กว้างและบีบแคบขึ้นไปบรรจบในยอดบนสุด ซึ่งหมายความว่าสารสนเทศที่ใช้งานจะมีมากในระดับล่างและลดหลั่นน้อยลงไปตามลำดับจนถึงยอดบนสุด เช่นเดียวกับจำนวนบุคลากรในระดับนั้น ๆ
บุคลากรในแต่ละระดับจะเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศดังนี้
ระดับปฏิบัติการ บุคลากรในระดับนี้เกี่ยวข้องอยู่กับงานที่ทำซ้ำ ๆ กัน และจะเน้นไปที่การจัดการรายการประจำวัน นั้นคือบุคลากรในระดับนี้เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศในฐานะผู้จัดหาข้อมูลเข้าสู่ระบบ ตัวอย่างเช่น เจ้าหน้าที่ผู้ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลการสั่งซืของลูกค้าเข้าสู่คอมพิวเตอร์ในระบบสารสนเทศเพื่อการขาย หรือตัวแทนการจองตั๋วและขายตั๋วในระบบจองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น
ระดับวางแผนปฏิบัติการ บุคคลในระดับนี้ จะเป็นผู้บริหารขั้นต้นที่ทำหน้าที่ควบคุมการปฏิงานประจำวัน และการวางแผนปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระยะเวลาสั้น ๆ เช่น แผนงานประจำวัน ประจำสัปดาห์ หรือประจำไตรมาส ข้อมูลที่ผู้บริหารระดับนี้ต้องการส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับผลการปฏิบัติในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ผู้จัดการแนกจายตรงอาจต้องการรายงานสรุปผลการขายประจำไตรมาสของพนักงานขาย เพื่อประเมินผลของพนักงานขายแต่ละคน เป็นต้น
ระดับวางแผนการบริหาร บุคลากรในระดับนี้ จะเป็นผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งทำหนาที่วางแผนให้บรรลุเป้าหมายต่างๆ เพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จตามแผนงานระยะยาวตามที่กำหนดโดยผู้บริหารระดับสูง มักจะเป็นสารสนเทศตามคาบเวลาซึ่งมีระยะเวลานานกว่าผู้บริหารขั้นต้น และจะเป็นสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร เช่น ของคู่แข่งหรือของตลาดโดยรวม เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้บริหารระดับนี้ยังต้องการระบบที่ให้รายงานการวิเคราะห์แบบ ถ้า-แล้ว (What - IF) นั่นคือสามารถทดสอบได้ว่าหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้แล้ว ตัวเลขหรือสารสนเทศต่างๆ จะเปลี่ยนเป็นเช่นไร เพื่อให้จำลองสถานการณ์ต่างๆที่ต้องการได้ ตัวอย่างเช่น ผู้จัดการฝ่ายขายอาจต้องการทาบผลการขายประจำปีของบริษัทเทียบคู่แข่งต่าง ๆ รวมทั้งอาจต้องการทดสอบว่าถ้าเพิ่มหรือลดลงโฆษณาในสื่อต่าง ๆ จะมีผลกระทบต่อยอดขายอย่างไรบ้าง
ระดับวางแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว ผู้บริหารระดับนี้จะเป็นระดับสูงสุด ซึ่งเน้นในเรื่องเป้าประสงค์ขององค์กร ระบบสารสนเทศที่ต้องการจะเน้นที่รายงานสรุป รายงานแบบ What-if และการวิเคราะห์แนวโน้มต่างๆ (trand analysis) ตัวอย่างเช่น ประธานบริษัทอาจต้องการรายงานที่แสดงแนวโน้มการขายในอีก 4 ปีข้างหน้าของผลิตภัณฑ์ 3 ชนิดของบริษัท เพื่อดูแนวโน้มในการเติบโตของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ว่า ผลิตภัณฑ์ใดจะมีแนวโน้มที่มีกว่า หรือผลิตภัณฑ์ใดที่อาจสร้างปัญหาให้บริษัทได้ เป็นต้น
ระดับวางแผนปฏิบัติการ ระดังวางแผนการบริหาร ระดับวางแผนยุทธศาสตร์ระยะเวลา
ความถี่ สม่ำเสมอ ซ้ำซ้ำ มักจะเป็นประจำ เมื่อต้องการ
ผลลัพธ์ที่ได้ เป็นตามที่คาด อาจไม่เหมือนที่คาด มักจะไม่เหมือนที่คาด
ระยะเวลา อดีต เปรียบเทียบ อนาคต
รายละเอียด มีรายละเอียดมาก ถูกสรุปแล้ว ถูกสรุปแล้ว
แหล่งข้อมูล ภายใน ภายในและภายนอก ภายในแลภายนอก
ลักษณะของข้อมูล เป็นโครงสร้าง กึ่งโครงสร้าง ไม่เป็นโครงสร้าง
ความแม่นยำ มีความแม่นยำสูง ใช้การคาดการณ์บ้าง ใช้การคาดการณ์สูง
ผู้ใช้ หัวหน้างาน ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับสูง
ระดับการตัดสินใจ เกี่ยวกับงานที่ทำ จัดสรรทรัพยาการและควบคุม วางเป้าประสงค์

สรุปความแตกต่างของสารสนเทศในระดับบริหารทั้ง 3 ระดับ

ระบบประมวลผลข้อมูล (Data processing System หรือ DP) หรือบางครั้งเรียกว่า ระบบประมวลผลรายการประจำ (Transaction Processing System หรือ TPS) หรือระบบประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Processing หรือ EDP) เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดข้อมูลขั้นพื้นฐาน โดยเน้นที่การประมวลผลรายการประจำวัน (transaction) และการเก็บรักษาข้อมูล ระบบประมวลผลข้อมูลมักจะทำงานอยู่เฉพาะส่งนหนึ่งส่วนใดของธุรกิจเท่านั้น เช่นฝ่ายการเงินและบัญชี ฝ่ายผลิต ฝ่ายการตลาด เป็นต้น โดยแต่ละฝ่ายจะมีการประมวลผลที่แยกจากกัน ข้อมูลจะถูกป้อนและจัดเก็บอยู่ในรูปของไฟล์ และไฟล์ต่างๆ จะถูกแก้ไขระหว่างการประมวลผลรายการประจำวัน จากนั้นผลลัพธ์จะถูกแสดงออกมาตามคาบเวลาที่กำหนด เช่น ใบส่งของ หรือรายงานประจำเดือน เป็นต้น ระบบประมวลผลข้อมูลมักจะถูกใช้งานได้ถึงระดับของผู้บริหารระดับปฎิบัติการ (operational management) เท่านั้น เนื่องจากระบบชนิดนี้จะไม่ยืดหยุ่น และไม่สามารถสนองความต้องการข้อมูลหรือสารสนเทศที่ไม่ได้จัดเเก็บอยู่ในระบบได้ อย่างไรก็ดี ข้อมูลในระบบประมวลผลข้อมูลจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับนำไปประมวลผลในระบบระดับสูงอื่นๆ ซึ่งมีความยืดหยุ่นพอที่จะให้สารสนเทศเพื่อช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในสภาวะแวดล้อมที่มักมีการเปลี่ยนแปลงได้ นั่นคือ ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System)
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System)หรือ MIS คือระบบบริหารที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องกา เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้งสารสนเทศจากภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งที่คาดว่าจะเป็นอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไฟเอสจะต้องให้สารสนเทศภายในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง
แม้ว่าผู้บริหารที่ได้รับประโยชน์จากระบบเอ็มไอเอสสูงสุดคือผู้บริหารระดับกลาง แต่โดยพื้นฐานของระบบเอ็มไอเอสแล้ว จะเป็นระบบที่สามารถสนับสนุนข้อมูลให้ผู้บริหารทั้ง 3 ระดับ คือทั้งผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารระดับสูง โดยระบบเอ็มไอเอสจะให้รายงานที่สรุปสารสนเทศซึ่งรวบรวมจากฐานข้อมูลทั้งหมดของบริษัท จุดประสงค์ของรายงานจะเน้นให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นแนวโน้มและภาพรวมขององค์กรในปัจจุบัน รวมทั้งสามารถควบคุมและตรวจสอบผลงานของระดับปฏิบัติการด้วย อย่างไรก็ดี ขอบเขตของรายงานจะขึ้นอยู่กับลักษณะของสารสนเทศและจุดประสงค์ในการใช้งาน โดยอาจมีรายงานที่ออกทุกคาบระยะเวลา รายงาตตามต้องการ หรือรายงานตามสภาวการณ์หรือเหตุปกติ ตัวอย่างรายงานที่ออกโดยระบบ MIS เช่น การวิเคราะห์การขายแยกตามพื้นที่ การวิเคราะห์ต้นทุน งบประมาณประจำปี การวิเคราะห์การลงทุน และตารางการผลิต เป็นต้น
คุณสมบัติของระบบเอ็มไอเอส
ลักษณะระบบของเอ็มไอเอสที่ดีสามารถสรุปได้ดังนี้
- ระบบเอ็มไอเอส จะสนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลและการจัดเก็บข้อมูลรายวัน
- ระบบเอ็มไอเอส จะใช้ฐานข้อมูลที่ถูกรวมเข้าด้วยกัน และสนับสนุนการทำงานของฝ่ายต่างๆ ในองค์กร
- ระบบเอ็มไอเอส จะช่วยให้ผู้บรหารระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง เรียกใช้ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามเวลาที่ต้องการ
- ระบบเอ็มไอเอส จะมีความยืดหยุ่น และสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปขององค์กร
- ระบบเอ็มไอเอส ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และกำจัดการใช้งานของบุคคลเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
ความแตกต่างของเอ็มไอเอสและ ดีพี
การใช้ระบบฐานข้อมูลร่วมกันของเอ็มไอเอส แทนการใช้ระบบแฟ้มข้อมูลแบบแยกกันของระบบดีพี ทำให้มีความยืดหยุ่นพอที่จะให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ
- ระบบเอ็มไอเอสจะรวบรวมเก็บข้อมูลจากฝ่ายทำงานต่างๆ ขณะที่ระบบดีพีมีการใช้งานแยกจากกันในแต่ละฝ่าย
- ระบบเอ็มไอเอส จะให้สารสนเทศสำหรับผู้บริหารทุกระดับ ในขณะที่ระบบดีพีจะให้ระดับปฏิบัติการเท่านั้น
- สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ ส่วนมากจะได้รับการตอบสนองทันทีจากระบบเอ็มไอเอส ในขณะที่ระบบดีพีจะต้องรอให้ถึงเวลาสรุป (จากรายงาน)
ระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ
ระบบการตัดสินใจ ( Decision Support Systems)หรือ DSS เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นจากระบบอ็มไอเอสอีกระบบหนึ่ง เนื่องจากผู้ที่มีหน้าที่ในการตัดสินใจจะสามารถใช้ประสบการณ์หรือใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วในระบบเอ็มไอเอสของระบริษัท สำหรับการตักสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพในงานปกติ แต่บ่อยครั้งที่ผู้ตัดสินใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารระดับวางแผนบริหารและวางแผนยุทธศาสตร์ และเผชิญกับการตัดสินใจที่ประกอบด้วยปัจจัยที่ซับซ้อนเกินกว่าความสามารถของมนุษย์ที่จะประมวลผลเข้าด้วยกันได้อย่างถูกต้อง จึงทำให้เกิดการสนับสนุนการตัดสินใจ ซึ่งเป็นระบบที่สนับสนุนความต้องการเฉพาะของผู้บริหารแต่ละคน (made by order)ในหลาย ๆ สถานะการณ์ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจมีหน้าที่ช่วยให้การตัดสินใจเป็นไปได้อย่างสะดวก โดยอาจจะช่วยผู้ตัดสินใจในการเลือกทางเลือก หรืออาจมีการจัดอันดับให้ทางเลือกต่าง ๆ ตามวิธีที่ผู้ตัดสินใจจะเป็นระบบสารสนเทศแบบโต้ตอบได้ ซึ่งจะใช้ชุดเครื่องมือที่ประกอบขึ้นจากทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เพื่อช่วยให้ผู้ตัดสินใจสามารถใช้งานได้ง่ายที่สุด เช่น การแสดงกราฟฟิกแบบต่าง ๆ หรือใช้ระบบจัดการฐานข้อมูล () เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการใช้โมเดลการวางแผนการทำนาย รวมทั้งการใช้ภาษาในการซักถามที่ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์ หรือแม้แต่ระบบปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้บริหารสามารถเรียกใช้สารสนเทศที่ต้องการได้ โดยไม่จำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญเลย
คุณสมบัติของระบบดีเอสเอส ลักษณะของระบบดีเอสเอสที่ดีสามารถสรุปได้ดังนี้
-ระบบดีเอสเอสจะต้องช่วยผู้บริหารในกระบวนการตัดสินใจ
-ระบบดีเอสเอสจะถูกออกแบบมาสามารถเรียกใช้ทั้งข้อมูลแบบกึ่งโครงสร้างและแบบไม่มีโครงสร้างแน่นอนได้
-ระบบดีเอสเอสจะต้องสามารถสนับสนุนผู้ตัดสินใจได้ทุกระดับแต่จะเน้นที่ระดับวางแผนบริหารและวางแผนยุทธสาสตร์
-ระบบดีเอสเอสจะมีรูปแบบการใช้งานเอนกประสงค์ มีความสามารถในการจำลองสถานการณ์ และมีเครื่องมือในการวิเคราห์สำหรับช่วยเหลือผู้ทำการตัดสินใจ
-ระบบดีเอสเอสจะต้องมีระบบโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ สามารถใช้งานได้ง่าย ผู้บริหารต้องสามารถใช้งานโดยพึ่งความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญน้อยที่สุดหรือไม่ต้องพึ่งเลย
-ระบบดีเอสเอสสามารถปรับตัวให้เข้ากับข่าวสารในสภาพการณ์ต่างๆ
-ระบบดีเอสเอสต้องมีระบบกลไกช่วยให้สามารถเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
-ระบบดีเอสเอสต้องสามารถติดต่อกับฐานข้อมูลองค์กรได้
-ระบบดีเอสเอสต้องทำโดยไม่ขึ้นกับระบบทำงานตามตารางเวลาขององค์กร
-ระบบดีเอสเอสต้องมีความยืดหยุ่นพอที่จะรองรับรูปแบบการบริหารต่างๆ
ความแตกต่างของระบบดีเอสเอสและเอ็มไอเอส
-ระบบเอ็มไอเอส จะถูกออกแบบเพื่อจัดการเฉพาะกับผู้ที่มีปัญหาที่มีโครงสร้างเท่านั้น ในขณะที่ระบบดีเอสเอถูก- ออกแบบให้สามารถจัดการกับปัญหาแบบกึ่งมีโครงสร้าง หรือแบบไม่มีโครงสร้างแน่นอน
-ระบบเอ็มไอเอส จะถูกออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนงานที่แน่นอน เช่น ระบบบัญชี การควบคุมสินค้าคงคลัง
-ระบบเอ็มไอเอสจะให้รายงานหรือสารสนเทศที่สรุปออกมากับผู้ใช้ ในขณะที่ระบบดีเอสเอสจะโต้ตอบโดยทันที
ในระบบไอเอ็มเอส ผู้ใช้ไม่สามารถขอให้ระบบสนับสนุนสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจที่ต้องการเป็นการเฉพาะ หรือในรูปแบบที่เฉพาะตัว แต่ในระบบดีเอสเอส ผู้ใช้สามารถกำหนดได้เอง
-ระบบเอ็มไอเอศจะให้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์สูงกับผู้บริหารระดับกลาง ในขณะที่ระบบดีเอสเอสจะให้สารสนเทศที่เหมาะกับทั้งผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง
ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง
ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems )หรือ EIS เป็นระบบที่สร้างขึ้น เพื่อสนับสนุนสารสนเทศและการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ หรือสามารถกล่าวได้ว่าระบบอีไอเอสคือส่วนหนึ่งของระบบดีเอสเอสที่แยกออกมา เพื่อเน้นในการให้สารสนเทศที่สำคัญต่อการบริหารแก่ผู้บริหารระดับสูงสุด
ลักษณะ รายละเอียด
ระดับการใช้งาน มีการใช้งานบ่อย
ทักษะทางคอมพิวเตอร์ ไม่จำเป็นต้องมีทักษะสูง ระบบจะสามารถใช้งานได้ง่าย
ความยืดหยุ่น สูง จะต้องการเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร
การใช้งาน ใช้ในงานตรวจสอบ ควบคุม
การสนับสนุนการตัดสินใจ ผู้บริหารระดับสูง ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน
การสนับสนุนข้อมูล ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
ผลลัพธ์ที่แสดง ตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย
การใช้งานภาพกราฟฟิค สูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่าง ๆ
ความเร็วในการตอบสนอง จะต้องตอบสนองอย่างรวดเร็ว ทันทีทันใด
แสดงลักษณะเฉพาะของระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง

ระบบอีไอเอสจะใช้ข้อมูลจากทั้งภายในภายนอกองค์กร (เช่น รายงานจากหน่วยงานของรัฐบาล หรือข้อมูลประชากร) นำมาสรุปอยู่ในรูปแบบที่สามารถตรวจสอบ และใช้ในการตัดสินใจโดยผู้บริหารได้ง่าย นอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้บริหารดูในรายละเอียดที่ต้องกรในจุดต่างๆได้อีกด้วย ตัวอย่างของระบบอีไอเอส เช่น รายงานเกี่ยวกับการเงินและสถานะภาพทางธุรกิจของบริษัทรวมทั้งอัตราส่วนสินทรัพย์ต่อหนี้สิน หรือจำนวนลูกค้าเฉลี่ยต่อนาทีที่ใช้บริการสนับสนุนหลังการขายทางโทรศัพท์เป็นต้น โดยระบบอาจแสดงลูกศรเพื่อให้ทราบว่าอัตราส่วนดีขึ้น เท่าเดิมหรือแย่ลง รวมทั้งข้อมูลที่แสดงอาจใช้สีในการแสดงสถานการณ์ต่างๆก็ได้ ซึ่งลูกศรหรือสีจะช่วยให้ผู้บริหารทราบถึงแนวโน้มได้อย่างรวดเร็ว ระบบอีไอเอสจะถูกออกแบบให้แสดงสารสนเทศขององค์กรโดยสรุป แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถดูลึกเข้าไปถึงรายละเอียดที่ต้องการได้ โดยการเลือกหัวข้อที่สนใจและสั่งให้ระบบแสดงข้อมูลในส่วนนั้นเพิ่มเติม
ข้อดี ข้อด้อย
ง่ายต่อผู้บริหารระดับสูงในการใช้งาน มีข้อจำกัดในการใช้งาน
การใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ อาจทำให้บริหารจำนวนมากรู้สึกว่าได้รับข้อมูลมากเกินไป
ให้สารสนเทศสรุปของบริษัทในเวลาที่ต้องการ ยากต่อการประเมินผลประโยชน์ที่ได้จากระบบ
ทำให้สามารถเข้าใจสารสนเทศได้ดีขึ้น ไม่สามารถทำการคำนวญที่ซ้บซ้อนได้
มีการกรองข้อมูลทำให้ประหยัดเวลา ระบบอาจจะใหญ่เกินกว่าที่จะจัดการได้
ทำให้ระบบสามารถติตามสารสนเทศได้ดีขึ้น ยากต่อการรักษาข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
ก่อให้เกิดปัญหาการรักษาความลับของข้อมูล
สรุปจุดเด่นและจุดด้อยของระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง

ความแตกต่างของระบบอีไอเอส และดีเอสเอส
-ระบบดีเอสเอสถูกออกแบบเพื่อให้สารสนเทศที่สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลางถึงระดับสูง แต่ระบบอีไอเอสจะเน้นการให้สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ
-ระบบดีเอสเอสจะมีส่วนของการใช้งานที่ใช้ไม่ง่ายเท่ากับระบบอีไอเอส เนื่องจากระบบอีไอเอสเน้นให้ผู้บริหารระดับสูงสุดใช้นั่นเอง
-ระบบอีไอเอสสามารถสร้างขึ้นมาบนระบบดีเอสเอส เสมือนเป็นระบบซึ่งช่วยให้สอบถามและใช้งานข้อมูลได้สะดวกขึ้น ซึ่งระบบอีไอเอสจะส่งต่อการสอบถามนั้นไปยังระบบดีเอสเอส และทำการสรุปข้อมูลที่ระบบดีเอสเอสส่งมาให้อยู่ในรูปที่ผู้บริหารสามารเข้าใจได้ง่าย
ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems) ระบบผู้เชี่ยวชาญมีส่วนที่คล้ายคลึงกับระบบอื่นๆ คือเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยผู้บริหารแก้ไขปัญหาหรือทำการตัดสินได้ดีขึ้น ระบบผู้เชี่ยวชาญจะแตกต่างกับระบบอื่นอยู่มาก จะเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ (knowledge) มากกว่าสารสนเทศ และถูกออกแบบให้ช่วยในการตัดสินใจโดยใช้วิธีเดี่ยวกับผู้เชี่ยวชาญที่มนุษย์เป็น โดยใช้หลักการทำงานด้วยระบบ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ระบบผู้เชี่ยวชาญจะทำการโต้ตอบกับมนุษย์ โดยมีการถามข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อความกระจ่างให้ข้อแนะนำ และช่วยเหลือในการตัดสินใจ นั่นคือทำงานคล้ายกับเป็นมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญในการแก้ไขปัญหานั้น เนื่องจากระบบนี้คือการจำลองความรู้ของผู้เชี่ยวชาญจริง ๆ มานั่นเอง โดยผู้เชี่ยวชาญในที่นี้อาจเป็นได้ทั้งผู้เชี่ยวชาญในการบริหาร ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องภาษี ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องยา หรือแม้แต่ผู้เชี่ยวชาญในการทำอาหารก็ตาม
คุณสมบัติของระบบผู้เชี่ยวชาญ

ข้อดีของระบบผู้เชี่ยวชาญ จะค่อนข้างต่างกว่าระบบสารสนเทศอื่นๆ ดังนี้
ระบบผู้เชี่ยวชาญ ช่วยในการเก็บความรู้ของผู้เชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่งไว้ ทำให้ไม่สูญเสียความรู้นั้น เมื่อผู้เชี่ยวชาญต้องการออกจากองค์กรหรืออาจไม่ปฏิบัติงานได้
-ระบบผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยขีดความสามารถในการตัดสินใจให้กับผู้บริหารจำนวนมากพร้อมๆ กัน
-ระบบผู้เชี่ยวชาญ สามารถเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและประสิทะผลให้กับผู้ตัดสินใจได้อย่างมาก
-ระบบผู้เชี่ยวชาญ จะทำให้การตักสินใจในแต่ละครั้งมีความใกล้เคียงและไม่มีความขัดแย้งกัน
-ระบบผู้เชี่ยวชาญ ช่วยลดการพึ่งพาบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
-ระบบผูเชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมที่จะเป็นระบบในการฝึกสอนเป็นอย่างมาก
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
ในยุคก่อนที่เครือข่ายคอมพิวเตอร์จะถือกำเนิดขึ้นนั้น การติดต่อส่งข้อมูลข่าวสารจะผ่านทางสื่อต่าง ๆ เช่น ไปรษณีย์ โทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ เป็นต้น ซึ่งแต่ละสื่อก็จะมีข้อดีและข้อจำกัดต่าง ๆ กันไป แต่ในปัจจุบันนี้ สื่อที่สร้างความเปลี่ยนแปลงในการส่งข้อมูลข่าวสารมากที่สุด ก็คือระบบการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือกล่าวได้ว่าประโยชน์สูงสุดอย่างหนึ่งของคอมพิวเตอร์ในยุคแห่งสารสนเทศนี้ ก็คือการช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสาร และแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็ว
o ความรู้พื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลทางอิเลคทรอนิกส์
การสื่อสารข้อมูลทางอิเลคทรอนิคส์ คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทาง โดยใช้อุปกรณ์ทางอิเลคทรอนิคส์ ซึ่งเชื่อมอยู่ด้วยสื่อกลางชนิดใดชนิดหนึ่ง
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ ระบบการเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองตัวขึ้นไป เพื่อให้สามารถทำการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเลคทรอนิคส์ระหว่างกันได้นั่นเอง
o การประมวลผลข้อมูลกับการสื่อสารข้อมูลทางอิเลคทรอนิกส์
เมื่อระบบการสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์พัฒนาก้าวหน้าขึ้น จึงมีการประยุกต์ใช้วิธีการสื่อสารข้อมูลแบบต่าง ๆ เข้าช่วยให้การใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลข้อมูลเป็นไปได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น รวมทั้งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ด้วย
o แบบจำลองสำหรับอ้างอิง
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัยใหม่จะถูกออกแบบให้มีโครงสร้างที่แน่นอน และเพื่อเป็นการลดความซับซ้อน ระบบเครือข่ายส่วนมากจึงแยกการทำงานออกเป็นชั้น ๆ โดยกำหนดหน้าที่ในแต่ละชั้นไว้อย่างชัดเจน
o ช่องทางการสื่อสารข้อมูล เครือข่ายคอมพิวเตอร์นอกจากจะประกอบขึ้นจากการนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายแล้ว ยังต้องมีช่องทางหรือสื่อกลาง ( media) ในการส่งผ่านข้อมูล ซึ่งในปัจจุบันจะมีอยู่มากมายหลายแบบ และแต่ละแบบก็จะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป สิ่งที่จะต้องคำนึงในการเลือกช่องทางที่ต้องการคือ
 อัตราเร็วในการส่งผ่านข้อมูล (Transmission Rate) อาจเลือกได้ตั้งแต่ความเร็วอยู่ในหลัก Kbpd (กิโลบิตต่อวินาที ) จนถึงหลายสิบ Mbps (เมกะบิตต่อวินาที )
 ระยะทาง (Distance) ต้องคำนึงถึงระยะทางระหว่างอุปกรณ์ที่ต้องการเชื่อมต่อกันด้วย โดยอาจห่างกันตั้งแต่ไม่กี่ฟุตจนถึงหลายพันกิโลเมตร
 ค่าใช้จ่าย (Cost) อาจต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งครั้งแรกและค่าใช้จ่ายประจำ
ความสะดวกในการติดตั้ง (Each of Installtion) เนื่องจากบางพื้นที่อาจไม่สะดวกที่จะเดินสาย หรือไม่อาจใช้สื่อบางประเภทได้
 ความทนทานต่อสภาพแวดล้อม (Resistance to Environmental Conditions) เช่น สื่อบางประเภทอาจมีข้อจำกัด เมื่อสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลง
ในการใช้งานจริงนั้น จะสามารถใช้งานช่องทางต่าง ๆ มากกาว่าหนึ่งช่องทางพร้อม ๆ กันขึ้นกับความเหมาะสม ซึ่งสามารถจำแนกช่องทางสำหรับการสื่อสารข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบันออกเป็นรูปแบบต่าง ๆ ได้ดังนี้

การทำงานร่วมกันของข่องทางต่าง ๆ

o อุปกรณ์สื่อสารข้อมูล ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย จะต้องทำการเชื่อมระหว่างอุปกรณ์และ
สื่อกลางแบบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งอาจมีความต้องการเฉพาะรูปแบบต่าง ๆ เช่น การรวมข้อมูลจากหลาย ๆ จุดเพื่อส่งผ่านไปยังสายเคเบิลโทรศัพท์เพียงสายเดียว หรืออาจต้องการขยายระยะทางการใช้งาน รวมทั้งอาจต้องเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายที่มีลักษณะแตกต่างเข้าด้วยกัน ความต้องการเหล่นี้ทำให้ต้องใช้อุปกรณ์พิเศษที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเฉพาะงาน
o ชนิดของระบบเครือข่าย
o ระบบเครือข่าย LAN ระบบเครือข่ายแบบ LAN หรือระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ โดยปกติแล้วจะเป็นระบบเครือข่ายส่วนตัว นั่นคือองค์กรที่ต้องการใช้งานเครือข่าย ทำการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายในระยะใกล้ ๆ ซึ่งจะช่วยให้เกิดประโยชน์แก่องค์กรและธุรกิจต่าง ๆ มากมาย เช่น
สามารถแบ่งเบาการประมวลผลไปยังเครื่องต่าง ๆ เฉลี่ยกันไป
สามารถแบ่งกันใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องพิมพ์ ซีดีรอมไดรฟ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง เป็นต้น
สามารถแบ่งกันใช้งานซอฟต์แวร์และข้อมูลหรือสารสนเทศต่าง ๆ รวมทั้งทำให้สามารถจัดเก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้เพียงที่เดียว
สามารถวางแผนหรือทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มได้ แม้จะไม่ได้อยู่ใกล้กันก็ตาม
สามารถใช้ในการติดต่อกัน เช่น ส่งจดหมายทางอิเลคทรอนิคส์ หรือการส่งเสียงหรือภาพทางอิเลคทรอนิคส์ เป็นต้น
ช่วยลดค่าใช้จ่ายโดยรวมขององค์กร
o ระบบเครือข่าย WAN ระบบเครือข่ายแบบ WAN หรือระบบเครือข่ายระยะไกล จะเป็นระบบเครือข่ายทีเชื่อมโยงเครือข่ายแบบท้องถิ่นตั้งแต่ 2 เครือข่ายขึ้นไปเข้าด้วยกันผ่านระยะทางที่ไกลมาก โดยการเชื่อมโยงจะผ่านช่องทางการสื่อสารข้อมูลสาธารณะของบริษัทโทรศัพท์ หรือองค์การโทรศัพท์ของประเทศต่าง ๆ เช่น สายโทรศัพท์แบบอนาลอก สายแบบดิจิตอล ดาวเทียม ไมโครเวฟ เป็นต้น
o การประยุกต์ใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ในโลกปัจจุบัน กล่าวได้ว่าระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นส่วนสำคัญที่สุดในระบบงานต่าง ๆ มากมาย เนื่องจากได้มีการประยุกต์ใช้ในส่วนต่าง ๆ ทั้งในทางธุรกิจ การศึกษา การบันเทิง ฯลฯ และในโลกยุคต่อไปการประยุกต์ใช้เหล่านี้จะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังจะเห็นได้จากความเฟื่องฟูของระบบเครือข่าย INTERNET ซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงโลกให้เป็นหนึ่งเดียว
ทางด่วนสารสนเทศกับอินเตอร์เน็ต

ทางด่วนสารสนเทศและอินเตอร์เน็ต
• ทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway)
ในปัจจุบันนี้ผู้ใช้หลายคนเข้าใจว่า ทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway) กับ อินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงนั้นทางด่วนสารสนเทศหรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ไอเวย์ (I-way) หมายถึง โครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) ของระบบโทรคมนาคมในการรับส่งข้อมูลดิจิตอลที่มีความเร็วและมีความเชื่อถือได้ ตลอดจนมีความปลอดภัยสูงพอที่จะรองรับข้อมูลจำนวนมหาศาลจากผู้ใช้ทั้งประเทศหรือแม้กระทั่งโลก ส่วนอินเตอร์เน็ตก็คือต้นแบบของทางด่วยสารสนเทศที่เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบันนั่นเอง
ทางด่วนสารสนเทศจะเป็นระบบคมนาคมสื่อสาร ที่สามารถให้บริการติดต่อสื่อสารได้ทุกรูปแบบและรวดเร็ว สิ่งที่วิ่งอยู่บนทางด่วนสารสนเทศอาจเป็นได้ทั้งภาพ เสียง หรือข้อมูล ส่วนการติดต่อสื่อสารสามารถเป็นได้ทั้งแบบโต้ตอบสองทางเช่นเดียวกับการใช้โทรศัพท์ หรือแบบทางเดียวเช่นเดียวกับการแพร่ภาพของสัญญาณโทรทัศน์และการกระจายเสียงของสัญญาณวิทยุ แนวความคิดในการสร้างทางด่วนสารสนเทศก็คือการนำเอาเครือจายของโทรศัพท์ โทรทัศน์ และคอมพิวเตอร์มารวมกัน เพื่อเสริมจุดเด่นและแก้จุดด้อยของแต่ละเครือข่าย รวมทั้งมีการกำหนดว่าสัญญาณที่ใช้ต้องเป็นสัญญาณแบบดิจิตอลเท่านั้น เพราะมีสัญญาณรบกวนน้อยมาก
เมื่อมีทางด่วนสารสนเทศ ในอนาคตสภาพบ้านเรือนและสำนักงานจะเปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ โทรศัพท์ โทรทัศน์ ตลอดจนเครื่องคอมพิวเตอร์ จะมีสายต่อเชื่อมเข้ากับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ใช้แยกสัญญาณต่าง ๆ ในการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น ๆ ทั่วโลก อุปกรณ์นี้จะเชื่อมต่อไปยัง หน่วยบริการท้องถิ่น (Local Service Provider) ซึ่งทำหน้าที่แทนชุมสายโทรศัพท์ท้องถิ่นในปัจจุบัน และหน่วยบริการท้องถิ่นก็จะมีสายเชื่อมต่อกับทางด่วนสารสนเทศที่ผ่านเมืองนั้น เครือข่ายทั้งหมดจะรวมกันเครือข่ายขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมทั้งโลก ทำให้การติดต่อสื่อสาร ตลอดจนการทำธุรกิจต่าง ๆ สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องก้าวออกจากบ้านหรือสำนักงานเลย
• อินเตอร์เน็ต (INTERNET)
อินเตอร์เน็ตคือตัวอย่างหนึ่งของทางด่วนสารสนเทศที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และเป็นทางด่วนที่ได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปถึงศักยภาพในการเติบโตเป็นชุมชนขนาดใหญ่ของอินเตอร์เน็ต โดยปัจจุบันนี้อินเตอร์เน็ตมีการเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์นับล้านระบบและมีผู้ใช้หลายสิบล้านคน ซึ่งเทียบประชากรอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันได้กับประชากรของประเทศไทยทั้งประเทศ และที่สำคัญก็คือรายได้เฉลี่ยของประชากรอินเตอร์เน็ต จะสูงกว่ารายได้เฉลี่ยของประชากรประเทศใด ๆ ในโลก
อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายซึ่งเป็นที่รวมของเครือข่ายย่อย ๆ หรือกล่าวได้ว่าเป็น เครือข่ายของเครือข่าย (Network of Network) ซึ่งสื่อสารกันได้โดยใช้โปรโตคอลแบบทีซีพี/ไอพี (TCP/IP) ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันเมื่อนำมาใช้ในเครือข่ายแล้วสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้

เหตุการณ์สำคัญ ๆ บนอินเตอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ตเริ่มใช้งานในปีค.ศ.1969 ภายใต้ชื่อเรียกว่า อาร์พาเน็ต (APRANET หรือ Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นเครือข่ายทดลองตั้งขึ้นเชื่อมระหว่างศูนย์ปฏิบัติการวิจัยของทหาร ในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา (Department of Defense หรือ DOD) กับศูนย์ปฏิบัติการวิจัยของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ระบบอาร์พาเน็ตเป็นเครือข่ายที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากมหาวิทยาลัย วิทยาลัย หน่วยงานของรัฐและเอกชนต่าง ๆ มากมาย สิ่งที่น่าสนใจของระบบอินเตอร์เน็ตคือการถูกออกแบบมาให้ไม่ต้องมีศูนย์กลางของการติดต่อ ซึ่งการไม่มีศูนย์กลางควบคุมนี้ ทำให้มีผู้เข้ามาร่วมใช้อินเตอร์เน็ตมากมาย ระบบจึงเติบโตขึ้นโดยไม่มีขีดจำกัด จนกระทั่งปัจจุบันนี้เริ่มเกิดปัญหาช่องทางการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตติดขัดบ้างแล้ว เช่น จดหมายอินเตอร์เน็ตที่เคยส่งได้ทันที ก็ต้องรอเป็นชั่วโมงเพราะไม่มีช่องทางการสื่อสารเพียงพอ เป็นต้น
บริการอินเตอร์เน็ตแบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ
บริการด้านการสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูล
เป็นบริการซึ่งเกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารกันระหว่างผู้ใช้ การเข้าใช้งานเครื่องซึ่งอยู่ห่างออกไป การขนถ่ายไฟล์ และการแลกเปลี่ยนความเห็นหรือความรู้ระหว่างผู้ใช้ เช่น
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
 เทลเน็ต (Telnet)
 ขนถ่ายไฟล์
 ยูสเน็ต (Usenet)
 การพูดคุยออนไลน์ (Talk)
 บริการเกมออนไลน์
บริการค้นหาข้อมูล
อินเตอร์เน็ตช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากในอินเตอร์เน็ตมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ จัดเก็บข้อมูลเพื่อเผยแพร่ไว้มากมาย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการค้นหาข้อมูลได้มาก บริการเหล่านี้ เช่น
 Archie
 WAIS ( Wide Area Information Service )
 Gopher
 Veronica
 Mailing List
 WWW ( World Wide Web )
ระบบการแทนชื่อในอินเตอร์เน็ต
คอมพิวเตอร์ในอินเตอร์เน็ตติดต่อกันโดยใช้โปรโตคอลแบบ ทีซีพี (Transmission Control) และไอพี (Internet Protocal) ซี่งเรียกรวม ๆ กันว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP) และมีการใช้หลักการเครือข่ายแบบเพคเกตสวิทช์ (packet - switching network) นั่นคือเพคเกตหรือกลุ่มข้อมูลจะถูกแบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ และส่งไปยังปลายทางโดยใช้เส้นทางต่าง ๆ กัน ตามแต่ปลายทางที่กำหนด โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่ายจะต้องมีหมายเลขประจำตัวเครื่องให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ อ้างอิงถึงกันได้ หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ในอินเตอร์เน็ตเรียกว่า หมายเลขไอพี (IP address) โดยคำว่าไอพีมาย่อมาจาก อินเตอร์เน็ตโปรโตคอล (Internet Protocal) หมายเลขไอพีจะเป็นหมายเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต หมายเลขชุดนี้จะถูกแบ่งเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิต เท่า ๆ กัน ในการอ้างถึงก็จะแปลงเลขนั้นเป็นเลขฐานสิบเพื่อความสะดวกให้ผู้ใช้อ้างถึงได้ง่าย ดังนั้นตัวเลขในแต่ละส่วนนี้จะมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 255 เท่านั้น เช่น 192.10.1.101 เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าหมายเลขไอพีจดจำได้ยาก ถ้าเครื่องในเครือข่ายมีจำนวนมากก็จะทำให้สับสนได้ง่าย จึงได้มีการแก้ปัญหาโดยตั้งชื่อที่เป็นตัวอักษรขึ้นมาแทนหมายเลขไอพี เพื่อช่วยในการจดจำ นอกจากนี้ ในกรณีที่เครื่องเสียหรือต้องการเปลี่ยนเครื่องที่ให้บริการจากเครื่องที่มีหมายเลขไอพีเป็น 192.100.10.23 เป็น 192.100.10.25 ผู้ดูแลระบบก็เพียงแต่แก้ไขข้อมูลในฐานข้อมูลให้เครื่องใหม่ใช่ชื่อของเครื่องเดิมเท่านั้น เครื่องใหม่ก็จะสามารถให้บริการได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องย้ายฮาร์ดแวร์แต่อย่างไร และผู้ใช้ยังคงใช้งานได้เหมือนเดิมโดยที่ไม่ต้องแก้ไขอะไรทั้งสิ้น
ผู้ที่ต้องการติดตั้งโฮสต์คอมพิวเตอร์ (Host Computer) เพื่อเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต และให้บริการต่าง ๆ สามารถขอหมายเลขไอพีได้จาก Internet Nretwork Information Center ของ Network Solution Incorporated (NSI) ที่รัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนบริษัทที่ให้บริการอินเตอร์เน็ตเรียกว่า หน่วยงานไอเอสพี (Internet Service Provider หรือ ISP)
การแทนหมายเลขไอพีด้วยชื่อคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการนั้น เรียกว่า ระบบชื่อโดเมน (Domain Name System) หรือ ดีเอ็นเอส (DNS) โดยจะจัดเก็บชื่อและหมายเลขไอพีลงในฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่พิเศษเรียกว่าเซิร์ฟเวอร์ชื่อ โดเมน (Domain Name Server ) หน่วยงาน InterNIC ( Internet Network Information Center ) ได้กำหนดรหัส โดเมนระดับบนสุด (Top - Level Domain Name ) ให้เป็นมาตรฐานใช้ร่วมกันสำหรับหน่วยงาน และประเทศต่าง ๆ โดยโครงสร้างข้อมูลชื่อโดเมนระดับบนสุดจะบอกถึงประเภทขององค์กร หรือชื่อประเทศที่เครือข่ายตั้งอยู่ ดังตาราง
รหัสโดเมน ใช้สำหรับ ตัวอย่าง
com กลุ่มธุรกิจการค้า (Commercial organization) sun.com
edu สถาบันการศึกษา (Education institution) ucla.edu
gov หน่วยงานของรัฐบาลที่ไม่ใช่หน่วยงานทางทหาร (Government agency) nasa.gov
mil หน่วยงานทางทหาร (Department of Defence of Military sites) army.mil
net หน่วยงานเกี่ยวกับเครือข่าย (Network resource) isp.net
org หน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไร (Provate organization) unesco.org
รหัสโดเมนแทนประเภทของหน่วยงาน

ในกรณีที่เครือข่ายนั้นอยู่นอกประเทศสหรัฐอเมริกา จะใช้ชื่อย่อของประเทศเป็นชื่อโดเมนระดับบนสุด ดังตัวอย่างในตาราง
รหัสโดเมน ประเทศ
au ออสเตรเลีย
at ออสเตรีย
ca แคนาดา
dk เดนมาร์ค
ie ไอร์แลนด์
jp ญี่ปุ่น
th ไทย
uk อังกฤษ
รหัสโดเมนแทนชื่อประเทศ

สำหรับในประเทศไทยจะมีโดเมนระดับบนสุดคือ th และมีรหัสโดเมนย่อยแทนประเภทของหน่วยงานอยู่ 3 กลุ่ม คือ
รหัสโดเมน ใช้สำหรับ ตัวอย่าง
or กลุ่มธุรกิจการค้า nectec.or.th
ac สถาบันการศึกษา chandra.ac.th
go หน่วยงานของรัฐบาล mua.go.th
รหัสโดเมนย่อยในประทศไทย

จำนวนเครือข่ายที่มีการจดทะเบียนชื่อโดเมนในเดือนมกราคมปี 1997 มียอดสูงถึง 16 ล้านเครื่อง
นอกจากนี้ เนื่องจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของอินเตอร์เน็ต ทำให้การแบ่งชื่อโดเมนตามประเภทขององค์กรเริ่มไม่เพียงพอ จึงกำลังมีการพิจารณาที่จะเพิ่มชื่อโดเมนระดับบนสุดเพิ่มขึ้นอีก 7 ชื่อ ดังตาราง
รหัสโดเมน ใช้สำหรับ
firm องค์การธุรกิจ
store บริษัทที่มีการขายสินค้า
web สำหรับไซต์ที่เน้นทางด้าน
art สำหรับไซต์ทางวัฒนธรรม
info บริการสารสนเทศ
nom สำหรับไซต์เฉพาะบุคคล
rec สำหรับไซต์ด้านความบันเทิง
รหัสโดเทนแทนประเภทของหน่วยงานชุดใหม่

การติดต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต
หากมองในแง่ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์แล้ว อินเตอร์เน็ตจัดเป็นเครือข่ายแวนแบบสาธารณะเครือข่ายหนึ่ง แต่เป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีเจ้าของโดยตรง การเข้าใช้งานเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะติดต่อหน่วยงานไอเอสพี ซึ่งเป็นเสมือนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตผู้หนึ่งที่มีการเชื่อมเข้ากับอินเตอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง นอกจากนี้การใช้งานเครือข่ายสาธารณะอื่น ๆ จะเป็นการใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องกัน เช่น บริษัทกับสาขา หรือบริษัทกับคู่ค้า เป็นต้น ในขณะที่การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อม ต่อเข้าด้วยกันของผู้สนใจในชุมชนอินเตอร์เน็ตจากทั่วโลก บริการต่าง ๆ ที่มีอยู่ในอินเตอร์เน็ตจะเป็นบริการที่ผู้ใช้งานในอินเตอร์เน็ตเองเป็นผู้สร้างขึ้น และอาจมีการคิดค่าใช้จ่ายกับผู้เข้าใช้หรือไม่ก็ได้
การติดต่อเข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ตจะมีสองวิธีคือ เชื่อมต่อโดยตรง (direct internet access) และ เชื่อมต่อผ่านการหมุนโทรศัพท์ (dialup access)
• การเชื่อมต่อโดยตรง
ในการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตโดยตรง ผู้ใช้จะต้องมีเครือข่ายที่จต้องการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ใช้บริการต่าง ๆ ได้ตลอดเวลา โดยการเชื่อมต่ออาจใช้อุปกรณ์ เราท์เตอร์ ทำหน้าที่เป็น ประตู เชื่อมโยงเครือข่ายภายในองค์กรเข้ากับเครือข่ายของอินเตอร์เน็ตโดยใช้ช่องทางการสื่อสาร เช่น สายเช่า ไมโครเวฟ สายใยแก้ว ดาวเทียม เป็นต้น จุดที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตได้โดยปกติแล้วจะเป็นการต่อเข้ากับระบบของ ไอเอสพี ซึ่งเป็นเสมือนตัวแทนในการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์ในแต่ละพื้นที่ โดยไอเอสพีส่วนมากในประเทศไทยก็จะมีการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต โดยเช่าวงจรที่ต่อผ่านการสื่อสารแห่งประเทศไทยไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ติดต่อกับอินเตอร์เน็ตโดยตรง จะสามารถส่งและรับกลุ่มข้อมูลของอินเตอร์เน็ตได้ก็ต่อเมื่อเครื่องนั้นมีหมายเลขไอพี และมีซอร์ฟแวร์ที่สนับสนุนโปรโตคอลมาตรฐานในการรับและส่งกลุ่มข้อมูลในอินเตอร์เน็ต หากเครื่องที่ใช้ติดต่อเป็นระบบยูนิกซ์จะมีโปรโตคอลทีซีพี/ไอพีให้ใช้งานได้ทันที ส่วนเครื่องที่ใช้ระบบวินโดว์ บริษัทไมโครซอฟท์ก็ได้ให้ซอฟต์แวร์สำหรับจัดการโปรโตคอลทีซีพี/ไอพีมาพร้อมกับซอฟต์แวร์วินโดว์ 95 และวินโดว์เอ็นที
เมื่อมีการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตแล้ว ผู้ใช้งานจะทำงานได้เช่นเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ที่ติดต่ออยู่กับอินเตอร์เน็ต ข้อดีของการติดต่อกับอินเตอร์เน็ต โดยตรงก็คือสามารถรับและส่งข้อมูลได้โดยตรง นิยมใช้ในมหาวิทยาลัยและในบริษัทต่าง ๆ รวมทั้งหน่วยงานที่เป็นไอเอสพีก็ใช้การเชื่อมต่อแบบดังกล่าวนี้เชื่อมต่อกับหน่วยงานไอเอสพีในต่างประเทศ ซึ่งส่วนมากจะเป็นไอเอสพีที่มีการเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายหลักของอินเตอร์เน็ตโดยตรง การที่ผู้ใช้ในประเทศไทยติดต่อกับไอเอสพีในประเทศ ก็เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการติดต่อเช่าคู่สายโทรศัพท์ทางไกลไปยังต่างประเทศและค่าบริการไอเอสพีในต่างประเทศ เพราะหน่วยงานไอเอสพีในประเทศจะเช่าคู่สายโทรศัพท์ทางไกลและจ่ายค่าบริการไอเอสพีให้กับต่างประเทศ เพื่อนำมาแบ่งให้บริการแก่ผู้ใช้ในประเทศเป็นการเฉลี่ยค่าใช้จ่ายนั่นเอง
• การเชื่อมต่อผ่านการหมุนโทรศัพท์
การเชื่อมต่อประเภทนี้จะเป็นการติดต่อผ่านสายโทรศัพท์ โดยใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ติดต่อผ่านโมเด็ม (modem) เพื่อติดต่อกับคอมพิวเตอร์ที่มีการติดต่อกับอินเตอร์เน็ตโดยตรง ซึ่งปกติแล้วก็คือหน่วยงานไอเอสพีนั่นเอง ในการใช้งานจะต้องพิจารณาว่าต้องการให้เครื่องที่ใช้ทำงานกราฟิกได้ หรือต้องการใช้เพียงแค่การจำลองเป็นเทอร์มินอล (terminal emulator) ตัวหนึ่งของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมกับระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะใช้งานได้เฉพาะรูปแบบอักษร (text mode) เท่านั้น
ในกรณีที่ต้องการใช้งานเป็นเทอร์มินอลจะต้องใช้โปรแกรมสื่อสาร เช่น Telix หรือ Procomm หมุนโทรศัพท์เข้าหาเครื่องที่เป็นไอเอสพี เมื่อติดต่อได้แล้วก็ได้รับข้อความแจ้งให้ใส่ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน ต่อจากนั้นก็สามารถใช้งานเป็นเทอร์มินอลได้ทันที ส่วนในกรณีที่ต้องการใช้งานในรูปแบบกราฟิก จะต้องใช้ซอร์ฟแวร์พิเศษที่จะติดต่อกับอินเตอร์เน็ต นั่นคือต้องมีการเชื่อมต่อผ่าน โปรโตคอลสลิป (Serial Line Internet Protocal SLIP) หรือ พีพีพี (Point - to Point Protocal PPP) หรือเพื่อใช้บริการแบบกราฟิก เมื่อติดต่อกันได้แล้วเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้ติดต่อเข้าไป ก็จะทำงานได้เหมือนเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์อิสระเครื่องหนึ่งในระบบเครือข่ายไอเอสพี นั่นคือเปรียบเสมือนกับมีการเชื่อมต่อโดยตรงเข้ากับอินเตอร์เน็ต สามารถใช้โปรแกรมแลัะบริการต่าง ๆ เช่น ใช้โปรแกรม บราวเซอร์ เพื่อดูข้อมูล เวิร์ดไวด์เว็บ ได้ทันที
เมื่อเชื่อมต่อเข้ากับระบบอินเตอร์เน็ตแล้ว ผู้ใช้จะใช้โปรแกรมประยุกต์ใดก็ได้ เช่น ใช้ เพื่อแลกเปลี่ยนไฟล์ หรือใช้ เพ่ออ่านกระดานข่าว เป็นต้น แต่ความเร็วในการสื่อสารจะช้ากว่าการเชื่อมต่อโดยตรง เราเพราะโมเด็มที่ใช้เชื่อมต่อจะมีความเร็วในการสื่อสารตั้งแต่ 9.6 - 33.6 กิโลบิตต่อวินาที รวมทั้งไฟล์และจดหมายอิเล็กทรอนิกส์จะถูกเก็บไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดต่อกับอินเตอร์เน็ตโดยตรงเท่านั้น ในกรณีของการเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ก็จะต้องมีการถ่ายโอนไฟล์และจดหมายอิเล็กทรอนิกส์มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้อีกทอดหนึ่งทำให้ยุ่งยากและเสียเวลาในการทำงาน แต่ก็เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการติดต่อโดยตรงมาก

การเชื่อมต่อเข้าใช้อินเตอร์เน็ตแบบต่าง ๆ

บริการด้านการสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูล
• จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail)
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่นิยมเรียกสั่น ๆ ว่า อีเมลล์ (E - mail) ก็คือจดหมายหรือข้อความที่ส่งถึงกันผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยการนำส่งจดหมายเปลี่ยนจากบุรุษไปรษณีย์มาเป็นโปรแกรม เปลี่ยนจากการใช้เส้นทางมาเป็นสายสื่อสารที่เชื่อมระหว่างเครือข่าย ซึ่งช่วยให้ปรระหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย ปัจจุบันนี้ด้วยเครือข่ายที่เชื่อมต่อเข้ากันทั่วโลก ทำให้การติดต่อกันสามารถกระทำอย่างง่ายดาย อินเตอร์เน็ตเป็นระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพราะมีผู้ใช้มากกว่า 25 ล้านคนติดต่อเข้าใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อส่งอีเมลล์ ที่อยู่ของการส่งอีเมลล์ประกอบด้วยสองส่วนคือชื่อ ผู้ใช้ ( user name ) และ ชื่อโดเมน ( domain name ) โดยชื่อโดเมนจะบอกถึงชื่อเครื่องที่ผู้ใช้มีรายชื่ออยู่ ส่วนชื่อผู้ใช้คือชื่อในการเข้าใช้งานเครื่องของผู้ใช้ และทั้งสองส่วนนี้จะแยกกันด้วยเครื่องหมาย @ ตัวอย่างเช่น
fsivcw@chulakn.chula.ac.th
หมายถึงผู้ใช้ชื่อ fscivcw ซึ่งมีที่อยู่ ณ เครื่อง chulkn ของจุฬาฯ (chula) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการศึกษา (ac) ในประเทศไทย (th)
bob@microsoft.com
คือผู้ใช้ชื่อ bob ซึ่งมีที่อยู่ในไมโครซอฟต์ (microsoft) ซึ่งเป็นองค์ธุรกิจ (com) ในสหรัฐ

สัญลักษณ์และตัวย่อในการสื่อสารด้วยอีเมลล์
การสื่อสารกันด้วยตัวอักษรในระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ มีจุดเสียคือยากที่จะแสดงความเป็นส่วนตัวและความรู้สึกออกมา จึงได้มีการพัฒนาการใช้สัญลักษณ์ในการแทนคำพูดและความรู้สึกด้วยการนำตัวอักษรมาประกอบกันเป็นภาพเรียกว่า emoticons ซึ่งสัญลักษณ์เหล่นี้ได้รับการยอมรับและนำมาใช้อยู่ทั่วไปในการส่งอีเมลล์
• การเข้าใช้เครื่องจากระยะไกล (Telnet)
เป็นโปรแกรมประยุกต์สำหรับเข้าใช้เครื่องที่ต่ออยู่กับระบบอินเตอร์เน็ตจากระยะไกล ช่วยให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตนั่งทำงานอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง แล้วเข้าไปใช้เครื่องอื่นที่อยู่ในที่ต่าง ๆ ภายในเครือข่ายได้ โดยโปรแกรมเทลเน็ตจะจำลองคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ให้เป็นเสมือนจอภาพบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างออกไป ทำให้ผู้ใช้รู้สึกเหมือนกับนั่งอยู่หน้าเครื่องนั้นโดยตรง การใช้โปรแกรมเทลเน็ตจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถขอเข้าใช้บริการของห้องสมุด ฐานข้อมูล และบริการสาธารณะอื่น ๆ ที่อยู่บนเครื่องโฮสต์ ซึ่งการติดต่อเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในอินเตอร์เน็ตบางแห่งก็ต้องการรหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน แต่บางแห่งก็ไม่ต้องการ
เทลเน็ตเป็นโปรแกรมที่ใช้โปรโตคอลเทลเน็ต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโปรโตคอลทีซีพี/ไอพี รูปแบบการเชื่อมต่อจะเป็นแบบไคลเอ็นต์ - เซิร์ฟเวอร์ โดยคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในระยะไกลจะทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ และให้บริการเครื่องไคลเอ็นต์ที่ผู้ใช้กำลังใช้งานอยู่ เมื่อมีการใช้คำสั่งเทลเน็ตจากเครื่องไคลเอ็นต์จะมีขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ เกิดขึ้นดังนี้
1. มีการต่อเชื่อมไปยังเซิร์ฟเวอร์ โดยผ่านทีซีพี
2. รอรับคำสั่งจากแป้นพิมพ์
3. แปลงรูปแบบคำสั่งให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐาน แล้วส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์
4. รอรับผลจากเซิร์ฟเวอร์ในรูปแบบมาตรฐาน
5. แปลงผลลัพธ์ที่ได้ให้แสดงผลบนจอภาพ
เนื่องจากเทลเน็ตเป็นโปรโตคอลที่อยู่ในระดับประยุกต์ การทำงานจึงเป็นอิสระไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์หรือซอร์ฟแวร์ใด ๆ ทำให้เครื่องที่เป็นเซิร์ฟเวอร์สามารถให้บริการเครื่องไคลเอ็นต์หลากชนิด ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นเครื่องชนิดใด หรือใช้ระบบปฏิบัติการแบบใด
• การขนถ่ายไฟล์ (Ftp)
ช่วยให้ผู้ใช้สามารถถ่ายโอนข้อมูลจากเครือข่ายที่เปิดบริการสาธารณะให้ผู้ใช้ภายนอกถ่ายโอนข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข่าวสารประจำวัน บทความ เกมและซอร์ฟแวร์ต่าง ๆ เป็นต้น การขนถ่ายไฟล์สามารถทำได้หลายรูปแบบ คือขนถ่ายจากเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องขนาดใหญ่ หรือโฮสต์คอมพิวเตอร์ หรือจากโฮสต์คอมพิวเตอร์ด้วยกันเอง ดังนั้นจึงมีโปรแกรมที่ใช้สำหรับขนถ่ายไฟล์จำนวนมาก แต่โปรแกรมที่ได้รับความนิยมสูง และมีบริการในโฮสต์คอมพิวเตอร์เกือบทุกเครื่องก็คือโปรแกรมเอฟทีพี
เอฟทีพีเป็นโปรแกรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งปกติแล้วผู้ที่เข้ามาขนถ่ายไฟล์ได้จะต้องมีชื่อเป็นผู้ใช้อยู่บนเครื่องนั้น ๆ แต่ก็มีเครือข่ายหลายแห่งที่ให้บริการขนถ่ายไฟล์ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีชื่อผู้ใช้อยู่บนเครื่องนั้น คือให้บริการสาธารณะแก่ผู้ใช้ทั่วไปเข้ามาขนถ่ายไฟล์ได้โดยการติดต่อกับโฮสต์ด้วยชื่อ anonymous ข้อมูลที่ให้บริการถ่ายโอนไฟล์ได้มีหลายรูปแบบ เช่น ข่าวประจำวัน บทความ ข้อมูลทางสถิติ หรืออาจจะเป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานบนระบบวินโดว์ ดอส ยูนิกส์ หรือแม้แต่แมกอินทอช โดยที่ซอฟต์แวร์เหล่านี้จะมีทั้งที่เป็น ฟรีแวร์ และ แชร์แวร์ ที่ให้ทดลองใช้งานก่อน หากพอใจจึงลงทะเบียนกับทางเจ้าของแชร์แวร์เพื่อรับบริการเพิ่มเติมอย่างเต็มรูปแบบ
โดยมากศูนย์บริการต่าง ๆ จะมีไฟล์ชื่อ หรือ หรือไฟล์ที่มีชื่อในทำนองเดียวกันนี้ ซึ่งจะให้รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับการขนถ่ายไฟล์ ผู้ใช้ควรอ่านไฟล์เหล่านี้ก่อนเพื่อให้สามารถขนถ่ายไฟล์ที่ต้องการได้ถูกต้อง
การบริการขนถ่ายไฟล์เป็นบริการที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ในปัจจุบันมีศูนย์ขนถ่ายไฟล์เกิดขึ้นจำนวนมาก ศูนย์บางแห่งก็มีผู้เข้ามาใช้บริการจำนวนมากจนไม่สามารถรองรับผู้ขอเข้าใช้ได้ทั้งหมด จนกระทั่งมีการกระจายเป็นศูนย์กระจกเงา ไปยังหลาย ๆ จุด หรือหลาย ๆ ประเทศ เพื่อให้ผู้ใช้เลือกใช้บริการจากศูนย์ที่อยู่ใกล้ตนเองที่สุด อันจะเป็นการลดภาระการขนถ่ายไฟล์ระยะไกลของเครือข่ายโดยรวมลง
• กระดานข่าว (Usenet)
ยูสเน็ตเป็นที่รวมของกลุ่มข่าวหรือ นิวส์กรุ๊ปส์ (newsgroups) ซึ่งเป็นกลุ่มที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ กันมากกว่า 5,000 กลุ่ม โดยให้บริการข่าวสารในรูปของกระดานข่าว โดยให้บริการจ่าวสารในรูปของ กระดานข่าว (bulletin board) ผู้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตสามารถเลือกเข้าเป็นสมาชิกในกระดานข่าว ๆ เพื่ออ่านจ่าวสารที่อยู่ภายใต สมาชิกในยูสเน็ตจะส่งข่าวสารในรูปของบทความเข้าไปในเครือข่าย โดยแบ่งบทความออกเป็นกลุ่ม ๆ เช่น กลุ่มคอมพิวเตอร์ (com) กลุ่มวิทยาศาสตร์ (sci) หรือสังคมวิทยา (soc) เป็นต้น ซึ่งผู้อ่านสามารถเลือกอ่านและแลกเปลี่ยนความเห็นหรือความรู้ตามกลุ่มที่ต้องการได้
• การพูดออนไลน์ (Talk)
ในอินเตอร์เน็ตจะมีบริการที่ช่วยให้ผู้ใชสามารถคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คนอื่น ๆ ที่ต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตในเวลาเดียวกัน โดยการพิมพ์ข้อความผ่านทางแป้นพิมพ์เสมือนกับการคุยกันตามปกติ แต่จะเป็นการคุยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าโทรศัพท์ทางไกล การพูดคุยออนไลน์นี้ สามารถใช้โปรแกรม talk สำหรับการคุยกันเพียง 2 คน หรือหากต้องการคุยกันเป็นกลุ่มหลายคน ก็สามารถใช้โปรแกรม chat หรือ ไออาร์ซี (IRC-Internet Relay Chat) ก็ได้
ในปัจจุบัน บริการการพูดคุยบนอินเตอร์เน็ตได้มีการพัฒนาไปมาก จนทำให้เกิดโปรแกรมต่าง ๆ ที่ช่วยให้ผู้ใช้ที่มีลำโพงและไมโครโฟนสามารถติดต่อพูดคุยด้วยเสียงได้โดยมีคุณภาพใกล้เคียงกับโทรศัพท์ทีเดียว ซึ่งโปรแกรมประเภทนี้ได้รับความนิยมใช้ในการติดต่อข้ามประเทศอย่าง มาก เนื่องจากช่วยให้ไม่ต้องเสียค่าโทรศัพท์ทางไกลข้ามประเทศ แต่มีข้อเสียคือต้องนัดแนะเวลาในการติดต่อกันไว้ก่อน เพื่อจะได้เข้าสู่อินเตอร์เน็ตในเวลานั้นพร้อม ๆ กัน โปรแกรมประเภทนี้ เช่น Internet Phone หรือ WebPhone เป็นต้น
ยิ่งไปกว่านี้ หากผู้ใช้มีอุปกรณ์กล้องจับภาพสำหรับทำการประชุมทางไกล จะสามารถติดต่อด้วยภาพพร้อมเสียงผ่านอินเตอร์ได้ในทันที แต่คุณภาพจะยังไม่ดีนัก โดยอัตราการเคลื่อนไหวของภาพจะอยู่ประมาณ 5-10 เฟรมต่อวินาทีที่การเชื่อมต่อด้วยโมเด็ม 28.8 Kbps โปรแกรมประเภทนี้จะมีทั้งเสียค่าใช้จ่าย เช่น Netmeeting ใน Internet Explorer หรือ Conference ใน Netscape Communicator ตลอดจนโปรแกรมสำหรับจำหน่ายซึ่งมีคุณภาพสูงกว่า เช่น หรือ เป็นต้น
• บริการเกมส์ออนไลน์
ในปัจจุบันการเล่นเกมส์พร้อมกัน จำนวนหลาย ๆ คนได้รับความนิยมอย่างมาก โดยมีทั้งการเล่นเกมส์ผ่านเครือข่ายแลนซึ่งมีข้อดีคือความเร็วสูง ตลอดจนถึงการเล่นเกมส์ผ่านเครือข่ายระยะไกล เช่น อินเตอร์เน็ต ซึ่งมีข้อดี คือ สามารถเล่นเกมส์กับผู้คนทั่วโลก
การเล่นเกมส์ออนไลน์บนอินเตอร์เน็ตจะต้องใช้บริการเซิร์ฟสำหรับเล่นเกมส์ ซึ่งจะช่วยในการหาผู้ที่จะจับคู่เลน หรือผู้เล่นอาจเข้าร่วมกับกลุ่มที่กำลังเล่นอยู่แล้วก็ได้ นอกจากนี้ เซิร์ฟเวอร์เกมส์ออนไลน์จะช่วยในการคิดคะแนน การเก็บคะแนนสูงสุด การประมวลผลการทำงานของเกมส์ในบางส่วน ตลอดจนอาจมีบริการอื่น ๆ เช่น ข่าวสารเกมส์ใหม่ ๆ กลเม็ดการเล่น หรือการฝากข้อความของผู้เล่น เป็นต้น ซึ่งบริการเซิร์ฟเวรอ์ออนไลน์ส่วนมากผู้เล่นจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสมัครสมาชิกรายปีหรือรายเดือน
บริการค้นหาข้อมูล
ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากในอินเตอร์เน็ตมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ทำการจัดเก็บข้อมูลไว้เผยแพร่มากมาย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการค้นหาข้อมูลได้มาก บริการต่าง ๆ ที่มีอยู่ในอินเตอร์เน็ต คือ
• Archie
อาร์ซี เป็นระบบการค้นหาข้อมูลแฟ้มข้อมูลที่พัฒนาขึ้นโดยนักศึกษาและผู้เชี่ยวชาญระบบเครือข่ายจากมหาวิทยาลัย McGill ประเทศแคนาดา อาร์ซีเป็นบริการสำหรับช่วยผู้ใช้ที่ทราบชื่อแฟ้มต่าง ๆ จากเครื่องที่มีบริการขนถ่ายข้อมูล fip สาธารณะ (ใช้ user แบบ anonymous ได้) เสมือนกับเป็นบรรณารักษ์ที่มีรายชื่อของหนังสือทั้งหมดที่อยู่ในห้องสมุด ซึ่งผู้ใช้จะได้รับแฟ้มข้อมูลที่ต้องการด้วยการใช้บริการ ftp ในการขนถ่ายข้อมูลตามตรงการตามตำแหน่งที่อาร์ซีแจ้งให้ทราบ
• WAIS (Wide Area Information Service)
WAIS เป็นบริการค้นข้อมูลโดยการค้นหาจากเนื้อหาข้อมูลแทนค้นหาตามชื่อของแฟ้มข้อมูล บริการ จะเป็นบริการซึ่งช่วยในการค้นข้อมูลจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลจำนวนมากที่กระจายอยู่ทั่วโลก หรือกล่าวได้ว่าเป็นบริการการค้นหาข้อมูลจาก ฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Database) นั่นเอง เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่เก็บฐานข้อมูล WAIS แต่ละเครื่องจะเก็บข้อมูลที่แตกต่างกันไป เมื่อผู้ใช้ทำการป้อนข้อความที่ต้องการหา เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ผู้ใช้ติดต่ออยู่ก็จะช่วยค้นไปยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลอื่น ๆ เพื่อหาตำแหน่งของแหล่งเก็บข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการ
• Gogher
โกเฟอร์ เป็นโปรแกรมประยุกต์แบบไครเอนต์เซิร์ฟเวอร์ที่พัฒนาขึ้นโดยมหาวิทยาลัย Minesota เพื่อช่วยให้สามารถค้นหาข้อมูลโดยผ่านระบบเมนูตามลำดับชั้น ฐานข้อมูลของระบบโกเฟอร์จะกระจายกันอยู่ทั่วโลก และมีการเชื่อมโยงกันอยู่ผ่านระบบเมนูของโกเฟอร์เอง การใช้โกเฟอร์เปรียบได้กับการเปิดเลือกรายการหนังสือในห้องสมุดที่จัดไว้เป็นหมวดหมู่ตามหัวเรื่อง ซึ่งผู้ใช้สามารถค้นเรื่องที่ต้องการตามหัวข้อต่าง ๆ ที่แบ่งไว้ และเมื่อเลือกหัวข้อแล้ว ก็จะปรากฏหัวข้อย่อย ๆ ให้สามารถเลือกลึกลงไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะพบเรื่องที่ต้องการ
• Veronica
เวโรนิก้า ย่อมาจาก Very Easy Rodent-orient Net-wide Index to Computerized Archives เป็นระบบช่วยการค้นหาข้อมูลด้วยคำที่ต้องการ (Keyword) ที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยเนวาด้า เป็นบริการที่ใช้งานร่วมกับโกเฟอร์ เพื่อช่วยในการค้นหาข้อมูลที่ต้องการโดยไม่ต้องผ่านระบบเมนูตามลำดับชั้นของโกเฟอร์ซึ่งผู้ใช้ที่ทราบคำสำคัญที่ต้องการจะสามารถหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
• Mailling List
บริการรายชื่อเมลล์ เป็นระบบฐานข้อมูลที่เก็บข้อมูลที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มคนซึ่งมีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคอมพิวเตอร์ รถยนต์ ภาพยนตร์ เพลง และอื่น ๆ เพื่อให้กลุ่มคนเหล่านี้สามารถแลกเปลี่ยนข่าวสารที่สนใจผ่านระบบอีเมลล์ โดยจดหมายที่ส่งเข้าสู่ระบบบริการรายชื่อเมลล์จะถูกส่งไปยังรายชื่อทั้งหมดที่ได้ลงทะเบียนไว้ในระบบ บริการรายชื่อเมลล์ยังนิยมนำมาใช้ในการลงทะเบียนรายชื่อ เพื่อขอรับข่าวสารเพื่อเติมจากไซต์ที่ผู้ใช้สนใจด้วย
• WWW (World Wide Web)
หากกล่าวว่าถนนทุกสายกำลังมุ่งตรงสู่อินเตอร์เน็ต ก็คงกล่าวได้ว่าถนนทุกสายในอินเตอร์เน็ตกำลังมุ่งสู่ เวิลด์ไวด์เว็บ (WWW) เนื่องจาก WWW หรือที่บางครั้งเรียกว่า W3 หรือ WEB เป็นบริการที่ได้รับความนิยมสูงสุด และมีอัตราการเพิ่มขึ้นของเครื่องที่ให้บริการประเภทนี้สูงสุดด้วย
เวิลด์ไวด์เว็บเป็นเครือข่ายย่อยของอินเตอร์เน็ตที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1989 โดย แห่งห้องปฏิบัตติการวิจัยเซิร์น (CERN) ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการด้านฟิสิกส์ในกรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในระยะแรกโปรแกรมสำหรับการใช้งานเวิลด์ไวด์เวบหรือที่เรียกว่า เวบบราวเซอร์ (Web Browser) จะมีการใช้งานในรูปแบบตัวอักษร (TEXT) จึงไม่ได้รับความนิยมมากนัก จนกระทั่งปี ค.ศ.1993 ได้เกิดโปรแกรม MOSAIC ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับใช้งานเวิลด์ไวด์เวบในรูปแบบกราฟฟิกจาก Nation Center for Supervomputing Application (NCSA) แห่งมหาวิทยาลัยอิลลินนอยส์ จึงทำให้ระบบเครือข่ายเวิลด์ไวด์เวบได้รับความนิยมสูงสุดจนถึงปัจจุบัน
เวิลด์ไวด์เวบจะเป็นบริการค้นหาและแสดงข้อมูลที่ใช้หลักการของ ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) โดยมีการทำงานด้วยโปรโตคอลแบบไคลเอนต์-เซิร์ฟเวอร์ที่เรียกว่า HTTP (Hypertext Transfer protocal) ผู้ใช้สามารถค้นข้อมูลจากเครื่องให้บริการที่เรียกว่า Web Server หรือ Web Site โดยอาศัยโปรแกรมเวบบราวเซอร์ และผลที่ได้จะเป็นไฮเปอร์เท็กซ์ซึ่งเป็นข้อความที่มีบางจุดในข้อความที่สามารถเลือกเพื่อโยงไปยังจุดต่าง ๆ ที่มีข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งจุดที่โยงใยไปอาจเป็นจุดที่อยู่ในไซต์เดียวกันหรืออาจเป็นไซต์อื่น ๆ ที่อยู่คนละประเทศก็ได้ ทำให้เกิดเป็นเครือข่ายเสมือนขนาดใหญ่ที่มีการเชื่อมต่อกันอยู่บนเครือข่ยอินเตอร์เน็ตอีกชั้น ในปัจจุบันไฮเปอร์เท็กซ์นอกจากจะเชื่อมโยงไปยังเอกสารหรือข้อมูลอื่นได้โดยตรงแล้ว ยังสามารถรวมเอาภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหวที่เรียกว่า มัลติมีเดีย (multimedia) ไว้ด้วย
ข้อมูลของเวิลด์ไวด์เวบที่ได้จากโปรแกรมบราวเซอร์จะมีลักษณะคล้ายกับหน้าเอกสารที่เป็นกระดาษหน้าหนึ่ง ซึ่งนิยมเรียกว่า เวบเพจ (Web Page) และหน้าเวบหน้าแรกที่ผู้ใช้จะพบเมื่อเรียกเข้าไปยังไซต์ใดไซต์หนึ่งจะเรียกว่า โฮมเพจ (Home Page) หรือหน้าที่เป็นเสมือนแหล่งเริ่มต้นนั้นเอง การสร้างเวบเพจทำได้โดยการเขียนข้อความบรรยายลักษณะของหน้าด้วยภาษาเฉพาะในการสร้างไฮเปอร์เท็กซ์ที่เรียกว่า HTML (Hypertext Markup Language) ซึ่งค่อนข้างจะซับซ้อนจึงนิยมใช้ โปรแกรมสร้างเวป (Web Authoring) ช่วยอำนวยความสะดวกในการสร้างเวบเพจ โดยโปรแกรมรุ่นใหม่ ๆ จะช่วยเขียนเวบเพจได้เช่นเดียวกับการใช้โปรแกรมประมวลคำทั่ว ๆ ไป โดยไม่จำเป็นต้องทราบวิธีเขียนภาษา HTML เลย
เมื่อผู้ใช้สร้างเวบเพจที่ต้องการนำเข้าสู่อินเตอร์เน็ตสำเร็จแล้ว จะสามารถต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตได้ โดยฝากไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ หรืออาจจะตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็น Web Server ขึ้นมาเองก็ได้
โปรแกรมบราวเซอร์ (Browser)
ในระยะเริ่มต้นนั้นโปรแกรมบราวเซอร์ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ดูเอกสารของเครือข่ายเวิลด์ไวด์เวบเป็นหลัก จึงทำให้ผู้ใชจำนวนมากเข้าใจว่าโปรแกรมบราวเซอร์กับโปรแกรมเรียกใช้บริการของเวบเป็นสิ่งเดียวกัน แต่ในปัจจบันโปรแกรมบราวเซอร์ได้ขยายขีดความสามารถมากขึ้นเรื่อย ๆ จนสามารถใช้เรียกบริการต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ตได้แทบทุกชนิด โดยการระบุชื่อโปรโตคอลของบริการต่าง ๆ นำหน้าตำแหน่งที่อยู่ (address หรือชื่อโดเมนของเครื่องบวกกับชื่อไฟล์บริการของบริการ) ที่ต้องการ เช่น
http://www.netscape.com
http://www.cnn.com/welcome.htm gopher://gopher.tc.umn.edu
ftp://ftp.nectec.or.th/pub/pc
file://C:/WINDOWS/Modem.txt โปรโตคอล http ที่อยู่คือเครื่อง www ณ netscape.com
โปรโตคอลhttp ที่อยู่คือเครื่อง www ณ cnn.com แฟ้ม welcome.htm
โปรโตคอลgopher ที่อยู่คือเครื่อง gopher ณ tc.cum.edu
โปรโตคอลftp ที่อยู่คือเครื่อง ftp ณ nectec.or.th และราก /pub/pc
โปรโตคอลfile ที่อยู่คือฮาร์ดดิสก์ c:\WINDOWS แฟ้ม Modem.txt
ข้อความก่อนหน้าเครื่องหมาย :// จะเป็นชนิดของโปรโตคอล และข้อความด้านหลังจะเป็นทีอยู่ของบริการนั้น ๆ (หากไม่ได้ระบุชื่อแฟ้มไว้ด้านหลังชื่อเครื่องโดยใช้ / คั่น จะเป็นการใช้ชื่อแฟ้ม เริ่มต้นโดยปริยาย (default) ของเครื่องนั้น) การระบุโปรโตคอลพร้อมที่อยู่เช่นนี้เรียกว่า URL (Uniform Resource Lacator) ซึ่งความหมายก็คือการใช้รูปแบบเดียวในการหาทรัพยากรต่าง ๆ นั้นเอง นอกจากนี้ ในตัวอย่างสุดท้ายจะเห็นได้ว่าโปรแกรมบราวเซอร์สามารถใช้ในการเปิดแฟ้มที่อยู่ในฮาร์ดดิสก์ของผู้ใช้ได้เสมือนกับเป็นริการหนึ่งในอินเตอร์เน็ต นั่นคือโปรแกรมบราวเซอร์มีแนวโน้มที่ชัดเจนว่ากำลังพยายามทำตัวเป็น เปลือก (shell) ที่ครอบอยู่เหนือระบบปฏิบัติการอีกชั้นหนึ่ง อันจำทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานบริการต่าง ๆ ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภท โดยไม่ต้องกับวลถึงความแตกต่างของฮาร์ดแวร์หรือระบบปฏิบัติการอีกต่อไป
โปรแกรมบราวเซอร์ระยะแรก ๆ จะเป็นข้อความ (text) ทำให้ไม่ได้รับความนิยม แต่เมื่อห้องปฏิบัติการ CERN ออกโปรแกรม MOSAIC ซึ่งเป็นบราวเซอร์ที่ใช้ ระบบการติดต่อผู้ใช้แบบกราฟฟิก (GUI) ตัวแรก ก็ทำให้โปรแกรมบราวเซอร์ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ใช้ทั่วไปที่ไม่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์มากนัก เนื่องจากระบบการติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟฟิก ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานบริการต่าง ๆ ในอินเตอร์เน็ตได้อย่างง่ายดายด้วยการชี้แล้วเลือก (point and click) โดยแทบจะไม่ต้องใช้แป้นพิมพ์เลย รวามทั้งบราวเซอร์กราฟฟิกยังทำให้สามารถสร้างเวบเพจที่มีสีสันและรูปภาพสวยงาม อันเป็นการดึงดูดใจให้มีผู้นิยมใช้งานมาขึ้นเรื่อย ๆ
อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน MOSAIC ไม่ได้มีการพัฒนาต่อแล้ว เนื่องจากห้องปฏิบัติการ CERN ไม่ได้เป็นหน่วยงานที่หวังผลกำไร การพัฒนา เป็นการพัฒนา MOSAIC เพื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเท่านั้น บราวเซอร์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบันก็คือบราวเซอร์ที่เป็นแชร์แวร์ จาก Netscape คือโปรแกรม Netscape Communicator ส่วนอันดับ 2 คือ บราวเซอร์ฟรีแวร์จาก Microsoft คือโปรแกรม Internet Explorer(IE) ซึ่งบราวเซอร์จากทั้ง 2 บริษัทได้มีการขยายขีดความสามารถใหม่ ๆ มากมาย เช่น การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) การใช้งานกลุ่มข่าว (newsgroup) การประชุมทางไกล (video conference) การสร้างเวบเพจ (web authoring) ตลอดจนการดูภาพแบบสามมิติ (VRML) เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายขีดความสามาถในการแทนทีระบบปฏิบัติการ และการเพิ่มเทคโนโลยีการ ผลัก (push) ข้อมูล ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่จะไม่รอให้ผู้ใช้เป็นฝ่ายเรียกเข้าอินเตอร์เน็ตเพื่อดึง (pull) ข้อมูล แต่จะส่ง (push) ข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการ (เช่น ข่าวต่าง ๆ) มายังเครื่องผู้ใช้โดยอัตโนมัติ
การประยุกต์ใช้อินเตอร์เน็ต
ในปัจจบันองค์การและธุรกิจต่าง ๆ ได้มองเห็นถึงความสำคัญของอินเตอร์เน็ต ทั้งในแง่ของการเป็นแหล่งข้อมูลอันมหาศาลสำหรับธุรกิจ การเป็นแหล่งทำการประชาสัมพันธ์เสริมสร้างภาพพจน์ของบริษัท ตลอดจนเป็นตลาดขนาดใหญ่ ๆ บริษัทต่าง ๆ จึงมีการแข่งขันกันในการเข้าสู่อินเตอร์เน็ตจนทำให้จำนวนเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตในชื่อขององค์การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
การนำเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้สำหรับธุรกิจและองค์กรต่าง ๆ ได้เกิดขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย อีกทั้งเกิดรูปแบบใหม่ ๆ ตลอดเวลา แต่มี่นิยมใช้กันมากสามารถสรุปได้ดังนี้
• การนำเสนอสินค้าและเสริมสร้างภาพพจน์บริษัท
ซึ่งเป็นขบวนการก่อนการขยาย (pre-sales) ที่สำคัญ ทำให้ผู้ใช้ได้รู้จักกับชื่อเสียงและสินค้าขององค์กรมากขึ้น รวมทั้งช่วยให้ผู้จัดจำหน่ายและผู้นำเข้าจากทั่วโลกได้รับรู้ข้อมูลของผู้ผลิตด้วย
• ให้ข้อมูลกับนักลงทุน
โดยบริษัทมหาชนต่าง ๆ สามารถให้ข้อมูลแก่ผู้ถือหุ้นเกี่ยวกับผลประกอบการ รายงานประจำไตรมาส วิธีดำเนินงานและประมาณการรายได้ ตลอดจนใช้ในการแถลงข่าวต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งยังประหยัดกว่าการจัดพิมพ์ด้วยกระดาษเป็นอย่างมาก
• หนังสือพิมพ์และวารสารอิเล็กทรอนิกส์
โดยใช้เวบเพจในการแทนหน้ากระดาษ ทำให้ต้นทุนในการจัดทำเอกสารลดลงไปมาก อีกทั้งสามารถลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งและการจัดจำหน่าย เนื่อจากเป็นการขายตรงสู่งลูกค้าที่สมัครสมาชิกทางกับทางไซต์ผ่านอินเตอร์เน็ตได้ทันที
• เปิดร้านค้าให้เช่าที่
โดยเปิดเป็นร้านค้าเพื่อให้ลูกค้าเพื่อให้ผู้ค้ามาเช่าเช่นเดียวกับห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ รวมทั้งอาจเก็บค่าโฆษณาจากผู้ที่ต้องการโฆษณาในร้าน
• การสนับสนุนทางเทคนิค
เป็นการประยุกต์ใช้อีกประการหนึ่งที่นิยมใช้กันมากอย่างมากในอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านคอมพิวเตอร์ เนื่องจากผู้ใช้ที่ต้องการสนับสนุนสามารถติดต่อมาได้จากทั่วโลกโดยไม่ต้องเสียค่าโทรศัพท์ทางไกล และสามารถดูฐานข้อมูลปัญหาต่าง ๆ ตลอดจนทางแก้ไขที่อาจตรงกับปัญหาของตนเอง หรืออาจส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ถามกับผู้เชี่ยวชาญก็ได้ รวมทั้งสมารถทำการถ่ายโอน (download) ซอฟต์แวร์สำหรับแก้ไขปัญหาหรือเพิ่มเติมคุณสมบัติต่าง ๆ ได้ทันที
• ให้บริการต่าง ๆ กับสาธารณะชน
เช่น เป็นแหล่งค้นข้อมูล (search engine) แหล่งเก็บรวบรวมแชร์แวร์และฟรีแวร์ แหล่งให้ข้อมูลและข่าวต่าง ๆ แหล่งติดต่อเกมส์แบบออนไลน์ เป็นต้น ซึ่งอาจมีการเก็บเงินจากการใช้บริการ หรือใช้วิธีหาโฆษณาจากบริษัทอื่น ๆ ก็ได้
• ให้ข้อมูลข่าวสารทั่ว ๆ ไปกับสาธารณะชน
เช่น มาตรฐานที่กำหนดโดยองค์กรต่าง ๆ หรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่หน่วยงานสร้างขึ้นตลอดจนข้อมูลการท่องเที่ยว เป็นต้น
• เก็บรวบรวมข้อมูลตลอดจนการเสนอขายข้อมูล
เช่น ใช้ในการทำโพลล์ต่าง ๆ ใช้ในการเป็นตัวกลางในการับสมัครงาน ตลอดจนอาจขายข้อมูลผู้สมัครที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการให้กับบริษัทต่าง ๆ เป็นต้น
• การจำหน่ายสินค้า
โดยนำสินค้ามาจำหน่ายตรงผ่านเวบ มีข้อดีคือช่วยลดต้นทุนการจัดจำหน่าย การตกแต่งร้าน ตลอดจนการเก็บสินค้าคงคลัง สินค้าที่มีผู้ประสบความสำเร็จในการขายผ่านอินเตอร์เน็ต เช่น หนังสือ ดอกไม้ ของชำร่วย ของที่ระลึก รวมทั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เป็นต้น
อินทราเน็ต (INTRANET) และเอ็กซ์ทราเน็ต (EXTRANET)
อินทราเน็ต คือ ระบบเครือข่ายภายในองค์กร เป็นระบบที่ได้การกล่าวขวัญถึงกันอย่างมากคู่กับอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์กรต่าง ๆ ได้มีการนำอินทราเน็ตมาใช้กันอย่างแพร่หลาย จนทำให้ระบบที่เกี่ยวกับอินทราเน็ตเป็นระบบที่ผู้ค้าต่าง ๆ มุ่งเข้ามาสู่กันมากที่สุด โดยสามารถให้นิยามของอินทราเน็ตได้คือ
ระบบเครือข่ายอินทราเน็ต ก็คือระบบเครือข่ายภายในองค์การที่นำเทคโนโลยีแบบเปิดจากอินเตอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยในการทำงานร่วมกัน (Workgroup) การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนการทำงานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ในองค์การ
• ประโยชน์ของอินทราเน็ต
ประโยชน์ของการนำอินทราเน็ตมาใช้ในองค์กรต่าง ๆ คือ
o ลดต้นทุนในการบริหารข่าวสารข้อมูล เนื่องจากการจัดเก็บข่าวสารต่าง ๆ ภายในองค์กร สามารถจัดเก็บอยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์อย่างง่ายดาย ด้วยการใช้ภาษา และใช้บราวเซอร์ในการอ่านเอกสาร ทำให้ลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการจัดพิมพ์เอกสารกระดาษ
o ช่วยให้ได้รับข่าวสารที่ใหม่ล่าสุดเสมอ เนื่องจากการจัดเก็บข่าวสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยากเหมือนการพิมพ์ลงกระดาษ และไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ทำให้บุคลากรในองค์กรสามารถรับข่าวสารใหม่ล่าสุดได้เสมอ
o ช่วยในการติดต่อสื่อสารกันได้อย่างฉับไว ไม่ว่าบุคลากรจะอยู่ห่างกันคนละชั้น คนละตึก หรือคนละจังหวัด ด้วยการใช้เทคโนโลยีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีการคุยติดต่อผ่านแป้นพิมพ์ หรือแม้กระทั่งเทคโนโลยีประชุมทางไกล เป็นการช่วยลดการสูญเสียเวลาของบุคลากร ตลอดจนช่วยให้ทีมงานมีการประสานงานกันดีขึ้น
o เสียค่าใช้จ่ายต่ำ การติดตั้งอินทราเน็ตจะเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการติดตั้ง ซอฟต์แวร์การทำงานแบบกลุ่ม (Workgroup software) ทั่วไปมาก เนื่อจากการใช้เทคโนโลยีแบบเปิดของอินเตอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ในอินเตอร์เน็ตซึ่งมีราคาไม่สูงนัก หรือในงานบางส่วนอาจไม่เสียค่าใช้จ่ายเลย เนื่องจากมีแชร์แวร์และฟรีแวร์อยู่มากมายในอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้ หากองค์กรมีระบบเครือขายภายในอยู่แล้ว การติดตั้งระบบอินทราเน็ตเพิ่มเติมจะเสียค่าใช้จ่ายต่ำมาก เนื่องจากสามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้วได้ทันทีตามคุณสมบัติ การใช้งานข้ามระบบ (cross platfrom) ที่แตกต่างกันได้ของอินเตอร์เน็ต
o เป็นระบบที่ใช้เทคโนโลยีเปิด ทำให้องค์กรไม่ผูกติดอยู่กับผู้ค้ารายใดรายหนึ่ง จึงช่วยลดความเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ผู้ค้าเลิกกิจการ ผู้ค้าเลิกการผลิตและสนับสนุน หรือผู้ค้าขึ้นราคา เป็นต้น รวมทั้งช่วยให้สามารถหาซอฟต์แวร์ใหม่ ที่จะมาช่วยในการทำงานได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องพึ่งอยู่กับผู้ผลิตเพียงรายเดียว
o เตรียมความพร้อมขององค์กรที่จะเชื่อมเข้าสู่อินเตอร์เน็ตได้ทันที รวมทั้งเป็นการเตรียมความรู้ของบุคลากรเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตด้วย
• องค์ประกอบของอินทราเน็ต
จากนิยมจะเห็นได้ว่าองค์ประกอบของอินทราเน็ตจะคล้ายคลึงกับอินเตอร์เน็ตอย่างมาก เนื่องจากมีการนำเทคโนโลยีของอินเตอร์เน็ตมาใช้งานนั้นเอง โดยอินทราเน็ตที่ดีครวประกอบด้วย
o การใช้โปรโตคอล TCP/IP เป็นโปรโตคอลสำหรับติดต่อสื่อสารภายในเครือข่าย
o ใช้ระบบ World Wide Web และโปรแกรมบราวเซอร์ในการแสดงข้อมูลข่าวสาร
o มีระบบอีเมลล์สำหรับแลกเปลี่ยนสำหรับข้อมูลระหว่างบุคลากรในองค์กร รวมทั้งอาจมีระบบนิวส์กรุ๊ปส์ เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและความรู้ของบุคลากร
o ในกรณีที่มีการเชื่อมต่อระบบอินทราเน็ตในองค์กรเข้ากับอินเตอร์เน็ต จะต้องมีระบบไฟร์วอลล์ (FireWall) ซึ่งเป็นระบบป้องกันอันตรายจากผู้ไม่หวังดีที่ติดต่อเข้ามาจากอินเตอร์เน็ต โดยระบบไฟร์วอลล์จะช่วยกรั่นกรองให้ผู้ที่ติดต่อเข้ามาใช้งานได้เฉพาะบริการและพิ้นที่ในส่วนที่อนุญาตไว้เท่านั้น รวมทั้งช่วยกัน นักเจาะระบบ (hacker) ที่จะทำการขโมยหรือทำงายข้อมูลในระบบเครือข่ายขององค์กรด้วย
• เอ๊กซ์ทราเน็ต (EXTRANET)
เอ๊กซ์ทราเน็ต หรือ เครือข่ายภายนอกองค์กร ก็คือระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายภายในองค์กร (INTERNET) เข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายนอกองค์กร เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ของสาขาของผู้จัดจำหน่ายหรือของลูกค้า เป็นต้น โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายอาจเป็นได้ทั้ง การเชื่อมต่อโดยตรง (Direct Link) ระหว่าง 2 จุด หรือการเชื่อมต่อแบบ เครือข่ายเสมือน (Virtual Network) ระหว่างระบบเครือข่ายอินทราเน็ต จำนวนหลาย ๆ เครือข่ายผ่านอินเตอร์เน็ตก็ได้
ระบบเครือข่ายแบบเอ็กซ์ทราเน็ต โดยปกติแล้วจะอนุญาตให้ใช้งานเฉพาะสมาชิกขององค์กรหรือผู้ที่ได้รับสิทธิในการใช้งานเท่านั้น โดยผู้ใช้จากภายนอกที่เชื่อมต่อเข้ามาผ่านเครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ตอาจถูกแบ่งเป็นประเภท ๆ เช่น ผู้ดูแลระบบ สมาชิก คู่ค้า หรือผู้สนใจทั่ว ๆ ไป เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้แต่ละกลุ่มจะได้รับสิทธิในการเข้าใช้งานเครือข่ายที่แตกต่างกันไป
เครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ตเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก เนื่องจากแนวโน้มการใช้งานเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เริ่มมีการนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์มากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น การเปิดร้านค้าบนอินเตอร์เน็ต หรือการเปิดบริการข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งบริการเหล่านี้จะต้องมีการเชื่อมต่อกับบุคคลและเครือข่ายภายนอกองคกรจำนวนมาก จึงต้องมีระบบการจัดการการเชื่อมต่อเครือข่ายภายนอกที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่ดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น